บทที่ 5 :  การพิธีบัพติศมาในน้ำ
บทที่ 5 : การพิธีบัพติศมาในน้ำ

บทที่ 5 : การพิธีบัพติศมาในน้ำ

บทเรียน ซีรีส์พื้นฐานชีวิตคริสเตียน บทที่ 5 : การบัพติศมาในน้ำ

พิธีบัพติศมาในน้ำ

มัทธิว 3:16-17  16เมื่อพระองค์ทรงรับบัพติศมาแล้วก็เสด็จขึ้นจากน้ำ และในทันใดนั้นฟ้าก็แหวกออก และพระองค์ทรงเห็นพระวิญญาณของพระเจ้าเสด็จลงมาดุจนกพิราบสถิตบนพระองค์ 17และนี่แน่ะ มีพระสุรเสียงตรัสจากฟ้าสวรรค์ว่า “ท่านผู้นี้เป็นบุตรที่รักของเรา เราชอบใจท่านมาก”

พระเยซูทรงรับพิธีบัพติศมาในน้ำ เป็นแบบอย่างให้แก่เราทุกคนที่จะเข้าสู่พิธีนี้เช่นเดียวกัน

พิธีบัพติศมาในน้ำคืออะไร

พิธีบัพติศมาในน้ำเป็นพิธีที่พระเยซูทรงสั่งให้เราทั้งหลายถือปฏิบัติ และมีการปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้

มัทธิว 28:19 เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงออกไปและนำชนทุกชาติมาเป็นสาวกของเรา จงบัพติศมาพวกเขาในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์

คำว่า “บัพติศมา” มาจากรากศัพท์ภาษากรีกใช้คำว่า bapto (βάπτω) และ baptizo (βαπτίζω) หมายถึงการปกคลุมด้วยน้ำ, จุ่มมิดในของเหลว, ทำให้สีย้อมติดขึ้นมาในการย้อมผ้า, การเข้าส่วน, การชำระล้าง เป็นต้น

พิธีบัพติศมาในน้ำทำกันในโลกยุคพระคัมภีร์ใหม่อยู่แล้ว เช่น คนยิวมีพิธีล้างตัวด้วยการจุ่มตัวในน้ำเพื่อชำระให้บริสุทธ์จากมลทิน หรือ พิธีบัพติศมาในน้ำ เป็นพิธีแสดงตัวของคริสเตียนในความเชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์ ที่เล็งถึงความจริงใจในการทิ้งบาป หันจากชีวิตเก่า ดำเนินในชีวิตใหม่ร่วมกับพระองค์ เหมือนดั่งชีวิตของเราถูกฝังไว้กับพระคริสต์ที่อุโมงค์ และกลับมามีชีวิตใหม่ร่วมกับพระองค์เมื่อพระองค์เป็นขึ้นจากความตาย

มัทธิว3: 11 ข้าพเจ้าให้ท่านรับบัพติศมาด้วยน้ำ แสดงว่ากลับใจใหม่ก็จริง แต่พระองค์ผู้จะมาภายหลังข้าพเจ้า ทรงยิ่งใหญ่กว่าข้าพเจ้า ซึ่งข้าพเจ้าไม่คู่ควรแม้แต่จะถือฉลองพระบาทของพระองค์ พระองค์จะทรงให้พวกท่านรับบัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และด้วยไฟ

 

กิจการของอัครทูต19: 4 เปาโลจึงกล่าวว่า “ยอห์นให้รับบัพติศมาที่แสดงการกลับใจใหม่ และบอกคนทั้งปวงให้เชื่อในพระองค์ผู้จะเสด็จมาภายหลังคือพระเยซู”

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา ให้บัพติศมาแก่ผู้ที่สารภาพบาปและกลับใจใหม่ให้มาเชื่อในพระเยซู ดังนั้นบัพติศมาในนามของพระเยซู คือการบัพติศมาที่ประกาศความเชื่อใน พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ (มธ 28:19) ซึ่งเปาโลอธิบายว่าหมายถึงการประกาศความเชื่อว่าพระเจ้าไถ่เราจากบาปแล้วและรับชีวิตใหม่ในพระเจ้า (รม 6:5-11)

ในพระธรรมกิจการของอัครทูต ได้อธิบายความหมายไว้อย่างชัดเจน ได้แก่

  1. เป็นการยืนยันถึงการรับการยกโทษบาป และหันมาเชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์

กิจการของอัครทูต 2:38 เปโตรจึงกล่าวกับเขาทั้งหลายว่า “จงกลับใจใหม่และรับบัพติศมาในพระนามของพระเยซูคริสต์ให้หมดทุกคน เพื่อพระเจ้าจะทรงยกความผิดบาปของท่านทั้งหลาย แล้วพวกท่านจะได้รับของประทานคือพระวิญญาณบริสุทธิ์

          ผู้ที่มีพระวิญญาณบริสุทธิ์ก็มีชีวิตใหม่จากพระเจ้า และเป็นของพระเจ้า

 

  1. เป็นการสะท้อนการบังเกิดใหม่

เป็นการสะท้อนความเชื่อว่าได้ตายต่อชีวิตตนเองและรับชีวิตของพระคริสต์ เชื่อ วางใจ ติดตามพระเยซู

กิจการของอัครทูต 19:4 เปาโลจึงกล่าวว่า “ยอห์นให้รับบัพติศมาที่แสดงการกลับใจใหม่ และบอกคนทั้งปวงให้เชื่อในพระองค์ผู้จะเสด็จมาภายหลังคือพระเยซู”

 

โรม 6:3-4 3ท่านทั้งหลายไม่รู้หรือว่า เราผู้ที่ได้รับบัพติศมาเข้าในพระเยซูคริสต์ ก็ได้รับบัพติศมานั้นเข้าในการตายของพระองค์? 4เพราะฉะนั้น เราจึงถูกฝังไว้กับพระองค์แล้ว โดยการรับบัพติศมาเข้าในการตายนั้น เพื่อว่าเมื่อพระบิดาทรงให้พระคริสต์เป็นขึ้นมาจากตายโดยพระสิริของพระองค์แล้ว เราก็จะได้ดำเนินตามชีวิตใหม่ด้วยเหมือนกัน

          ชีวิตใหม่ของคริสเตียนคือชีวิตที่สนิทกับพระเจ้าและจะได้รับกายใหม่เมื่อพระเยซูกลับมา (1 ปต 3:21,คส 2:12-31)

 

  1. เป็นพิธีที่แสดงให้รู้ว่าได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวของพระเจ้าแล้ว

กิจการของอัครทูต 10:47 “ใครจะห้ามคนเหล่านี้ที่ได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์เหมือนเราจากการรับบัพติศมาด้วยน้ำ?”

 

1 โครินธ์ 12:13 เพราะว่าไม่ว่าจะเป็นยิวหรือกรีก ทาสหรือเสรีชน เราได้รับบัพติศมาในพระวิญญาณองค์เดียวเข้าเป็นกายเดียวกัน และพระวิญญาณองค์เดียวกันเป็นเหมือนน้ำที่ประทานให้เราทุกคนได้ดื่ม

 

เอเฟซัส 4:4-6 4มีกายเดียวและมีพระวิญญาณองค์เดียว เหมือนอย่างที่ท่านได้รับการทรงเรียกให้มาถึงความหวังเดียวในการทรงเรียกพวกท่านนั้น 5มีองค์พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ความเชื่อเดียว บัพติศมาเดียว 6พระเจ้าองค์เดียวผู้เป็นพระบิดาของทุกคน พระองค์ทรงมีอำนาจเหนือสรรพสิ่ง ทรงทำการผ่านสรรพสิ่งและทรงอยู่ในทุกคน

          เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวพระเจ้า

โรม 8:16-17  16พระวิญญาณนั้นเป็นพยานร่วมกับจิตวิญญาณของเราว่า เราเป็นลูกของพระเจ้า 17และถ้าเราเป็นลูกแล้ว เราก็เป็นทายาท คือเป็นทายาทของพระเจ้า และเป็นทายาทร่วมกับพระคริสต์ เมื่อเราทนทุกข์ทรมานด้วยกันกับพระองค์ก็เพื่อจะได้ศักดิ์ศรีด้วยกันกับพระองค์ด้วย

ฉะนั้นหลักการและเหตุผลเบื้องหลังของพิธีบัพติศมาในน้ำ อธิบายแก่เราว่า ผู้ที่จะเข้าสู่พิธีนี้ได้นั้น จำเป็นต้องมีความเชื่อและวางใจในพระเยซูก่อน จึงจะสามารถรับด้วยความเข้าใจ เต็มใจ และจริงใจ เพื่อเป็นสิ่งที่จะกลับมาระลึกเสมอถึงความตั้งใจในการดำเนินชีวิตติดตามพระเจ้าอย่างแท้จริง

วิธีการรับบัพติศมาในน้ำ

การบัพติศมาในน้ำในปัจจุบันจะทำโดยคริสตจักรท้องถิ่น ผู้ที่สามารถรับใช้ต้องเป็นผู้ที่เชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์อย่างแท้จริง และรับโดยการ 1.กลับใจใหม่จากบาปหันมาเชื่อและวางใจในพระเยซูคริสต์อย่างแท้จริง 2.จุ่มมิดน้ำเล็งถึงการตายจากตัวเก่าฝังร่วมกับพระเยซู และ  

ทบทวนความเข้าใจในภาคปฏิบัติ

  1. ใครควรรับบัพติศมาในน้ำ – ทุกคนที่เชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์
  2. รับเมื่อไร – ในโอกาสแรกที่เป็นไปได้หลังจากเชื่อวางใจในพระเยซู

อย่าลังเลหรือกังวล รู้สึกว่าชีวิตยังไม่พร้อม หรือดีเพียงพอ เพราะเรารอดโดยพระคุณไม่ใช่โดยความดีที่เราทำ ให้เรามั่นใจในพระคุณพระเจ้าและกล้าเข้ามาสู่พิธีนี้อย่างมีความหมาย

  1. รับที่ไหน – คริสตจักร หรือสถานที่ที่คริสตจักรจัดขึ้น ปกติจะเป็นบ่อน้ำสำหรับบัพติศมา หรือสระว่ายน้ำ
  2. ใครเป็นผู้ประกอบพิธี – ศิษยาภิบาลคริสตจักร หรือผู้ที่ศิษยาภิบาลมอบหมาย
  3. รับได้กี่ครั้ง – รับครั้งเดียวก็เพียงพอ
  4. รับอย่างไร – จุ่มมิดน้ำ เพื่อสะท้อนความหมายที่ตรงไปตรงมาตามหลักพระคัมภีร์
  5. แต่งตัวอย่างไร – บางคริสตจักรจะมีชุดคลุมสำหรับพิธี แต่หากไม่มีให้ใส่ชุดปกติ เสื้อยืด กางเกงขาสั้น ดูมิดชิด เตรียมผ้าขนหนูหรือผ้าคลุมตัวหลังจากขึ้นจากน้ำ
  6. ไม่รับได้ไหม – พระเยซูสั่งให้เราเชื่อฟังพระองค์

มัทธิว 28:19 เหตุฉะนั้นเจ้าทั้งหลายจงออกไปสั่งสอนชนทุกชาติ ให้เป็นสาวกของเรา ให้รับบัพติศมาในพระนามแห่งพระบิดา พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์

แม้บัพติศมาในน้ำไม่ได้ทำให้ใครรอดจากบาป
เป็นเพียงพิธีที่แสดงออกภายนอกถึงความเชื่อภายใน
แต่หากเราเชื่ออย่างจริงใจภายในจิตใจ ขอให้เราเชื่อฟังพระองค์ต่อในเรื่องนี้ด้วย

 

ผู้เขียน: อจ. ดร.กนก ลีฬหเกรียงไกร

 

ข้อมูลอ้างอิง

  • Thomas R. Schreiner, Shawn D. Wright. Believer’s Baptism: Sign of the New Covenant in Christ. USA: B&H Books. 2007.
  • สตีฟ เทเลอร์. ศาสนศาสตร์ 3. กรุงเทพฯ: พระคริสตธรรมกรุงเทพ, 2015.
  • จอห์น เดวิส. เพิ่มความรู้. พิมพ์ครั้งที่ กรุงเทพฯ: กนกบรรณาสาร. 2011.
  • เฮ็นรี่ แคลเรนซ์ ทีเซ่น. ศาสนศาสตร์ระบบ. พิมพ์ครั้งที่ กรุงเทพฯ: กนกบรรณาสาร. 2005.
  • The New Schaff-Herzog encyclopedia of religious knowledge
  • The Encyclopedia of religion 1987

 

คนยิวในช่วงพระคัมภีร์ใหม่มีการทำพิธีบัพติศมา สำหรับคนต่างชาติที่ต้องการเป็นยิว 7 วันหลังรับการเข้าสุหนัต มีการสัมภาษณ์และพิธีเป็นการรับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชนชาติอิสราเอล

พิธีของยอห์น แสดงการกลับใจใหม่เพื่อรับการยกโทษความผิดบาป (มก 1:4, กจ19:4) แต่การบัพติศมาในพระนามพระเยซูคือการเข้าส่วนในการตายต่อบาป และรับชีวิตใหม่ในพระเยซูด้วย (รม 6: 2-8) ไม่ใช่เพียงแต่กลับใจจากบาปเป็นการเข้ามีส่วนในพระเยซูคริสต์ (กจ2:38, 1คร 12:13, มธ28:19)

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Skip to content