<span class="vcard">Por Por</span>
Por Por

บทที่ 1 : พระคัมภีร์ หนังสือแห่งชีวิต

พระคัมภีร์เปรียบเป็นอะไรได้บ้างในชีวิตเรา? มีข้อแนะนำอย่างไรในการศึกษาพระคัมภีร์ในภาคปฏิบัติ

บทที่ 3 : คริสตจักร ชุมชนแห่งพระพร

บทเรียน ซีรีส์พื้นฐานชีวิตคริสเตียน บทที่ 3 : คริสตจักร ชุมชนแห่งพระพร

คริสตจักร ชุมชนแห่งพระพร

กิจการของอัครทูต 2:44-47  44คนทั้งหมดที่เชื่อถือก็อยู่รวมกัน และนำทุกสิ่งมารวมเป็นของกลาง 45และพวกเขาขายที่ดินและทรัพย์สิ่งของมาแบ่งให้แก่กันตามความจำเป็น 46ทุกๆ วัน พวกเขาอุทิศตัวอยู่ด้วยกันในพระวิหารและหักขนมปังตามบ้านของพวกเขา รับประทานอาหารร่วมกันด้วยความชื่นชมยินดีและจริงใจ 47ทั้งสรรเสริญพระเจ้าและได้รับความชื่นชอบจากทุกคน องค์พระผู้เป็นเจ้าก็โปรดให้คนทั้งหลายที่กำลังจะรอด เพิ่มจำนวนเข้ามามากยิ่งขึ้นทุกๆ วัน

พระคัมภีร์ใหม่ให้น้ำหนักของการดำเนินชีวิตในชุมชนไว้มากมายทั้งบทบาทของผู้นำและสมาชิกในคริสตจักรท้องถิ่น การใช้ชีวิตในคริสตจักรทำให้ผู้เชื่อจำเริญเติบโตขึ้น คริสตจักรไม่ใช่ที่ของคนสมบูรณ์ พระเจ้าทรงสร้างเราผ่านกันและกันในความไม่สมบูรณ์เพื่อให้เราเติบโต สะท้อนพระลักษณะพระเจ้ามากขึ้นวันต่อวันซึ่งนั่นเป็นน้ำพระทัยของพระเจ้าในชีวิตคริสเตียนทุกคน

เอเฟซัส 1:23 คริสตจักรเป็นพระกายของพระคริสต์ ซึ่งเป็นความบริบูรณ์ของพระองค์  ผู้ทรงเติมทุกอย่างในทุกแห่งให้เต็มบริบูรณ์

 

1 โครินธ์ 12:27 ส่วนท่านทั้งหลายเป็นกายของพระคริสต์ และแต่ละอวัยวะก็เป็นส่วนหนึ่งของกายนั้น

คริสตจักรคืออะไร และเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร

คำว่าคริสตจักรมาจากภาษากรีกซึ่งใช้คำว่า ἐκκλησία (Ekklesia/Ecclesia) หมายถึง ผู้ที่ถูกเรียกให้ออกมาเพื่อเข้าสู่อาณาจักรของพระเจ้า หรือชุมชนของพระคริสต์

“คริสตจักรไม่ใช่ตัวอาคาร” แต่หมายถึง ชุมชนผู้ที่กลับใจบังเกิดใหม่เชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์อย่างแท้จริงที่ตั้งใจมาอยู่ร่วมกันเพื่อดำเนินชีวิตตามพระประสงค์พระเจ้าโดยมีพระเยซูเป็นศูนย์กลาง

เมื่อมีคนที่เชื่อในพระเยซูคริสต์มารวมตัวกันมากขึ้นในที่แห่งเดียวกันในชุมชนนั้นๆ เราเรียกว่า คริสตจักรท้องถิ่น (Local Church) และในภาพกว้างที่สุดคือชุมชนของผู้เชื่อทุกยุคทุกสมัยเป็นหนึ่งเดียวกันเรียกว่า คริสตจักรสากล (Universal Church)

ในมุมปฏิบัติ คริสตจักรท้องถิ่นมีความสำคัญมากต่อผู้เชื่อ เพราะเป็นที่เปิดเผยแผนการของพระเจ้าทั้งส่วนตัวและส่วนรวม เป็นที่ที่สร้างชีวิตฝ่ายวิญญาณของเรา และเป็นที่ที่เราได้รับใช้ร่วมกับพี่น้องในพระกายของพระคริสต์ ส่วนคริสตจักรสากลเป็นคริสตจักรที่เราเป็นหนึ่งในนั้นอยู่แล้วเมื่อเราเชื่อวางใจในพระเจ้า

คริสตจักรเป็นชุมชนแห่งพระพรต่อเราอย่างไร

 

  1. เราจะเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวของพระเจ้า

พระเจ้าเปรียบเราเหมือนแกะของพระองค์ซึ่งอยู่ร่วมกันเป็นฝูง จำเป็นต้องมีผู้เลี้ยง พระเยซูทรงเป็นผู้เลี้ยงของเรา แต่พระองค์ทรงฝากแกะของพระองค์ให้คริสตจักรดูแลเป็นชั้นๆ ด้วย และการที่เราจะมีผู้เลี้ยงได้ เราจำเป็นต้องผูกพันตัวในครอบครัวฝ่ายวิญญาณคือคริสตจักรเสียก่อน เพื่ออนุญาตให้ผู้เลี้ยงสามารถแนะนำเอาใจใส่ฝ่ายวิญญาณของเราได้

การเข้าโบสถ์ในวันอาทิตย์และกลุ่มสร้างชีวิต (LG) ตามบ้าน เป็นประจำทุกสัปดาห์จะช่วยให้เราเติบโตฝ่ายวิญญาณมากขึ้น

พระเยซูทรงประทานสิทธิอำนาจแก่สาวกเพื่อประกาศและสร้างสาวก ดูแลงานในพระมหาบัญชา

มัทธิว 28:18 พระเยซูจึงเสด็จเข้ามาใกล้แล้วตรัสกับพวกเขาว่า “สิทธิอำนาจทั้งหมดในสวรรค์ก็ดี ในแผ่นดินโลกก็ดีทรงมอบไว้แก่เราแล้ว

 

ฮีบรู 13:17 จง​นบ​นอบ​เชื่อ​ฟัง​บรรดา​ผู้นำ​ของ​ท่าน​ทั้ง​หลาย เพราะ​ว่า​พวก​เขา​ดู​แล​รักษา​จิต​วิญ​ญาณ​ของ​พวก​ท่าน​อยู่​อย่าง​คน​ที่​ต้อง​ถวาย​ราย​งาน จง​ให้​พวก​เขา​ทำ​งาน​นี้​ด้วย​ความ​ชื่น​ชม​ยินดี ไม่​ใช่​ด้วย​ความ​เศร้า​ใจ ซึ่ง​จะ​ไม่​เป็น​ประ​โยชน์​แก่​พวก​ท่าน​เลย

 

ขณะเดียวกัน อ.เปโตรให้ข้อคิดในการดูแลแกะของพระเจ้าว่าให้ทำด้วยความเต็มใจ เป็นแบบอย่างชีวิต ไม่ใช่ดูแลแบบเจ้านายสั่งผู้ใต้บังคับบัญชา

1 เปโตร 5:2-4 จงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าที่อยู่ท่ามกลางพวกท่าน โดยเอาใจใส่ดูแล ไม่ใช่ด้วยความฝืนใจ แต่ด้วยความเต็มใจ ตามพระประสงค์ของพระเจ้า ไม่ใช่ด้วยใจโลภในทรัพย์สิ่งของ แต่ด้วยใจกระตือรือร้น และไม่เป็นเหมือนผู้ใช้อำนาจบาตรใหญ่ข่มขี่ผู้ที่อยู่ในความดูแล แต่ให้เป็นแบบอย่างแก่ฝูงแกะนั้น และเมื่อพระผู้เลี้ยงผู้ยิ่งใหญ่เสด็จมาปรากฏ พวกท่านจะได้รับมงกุฎแห่งศักดิ์ศรีที่ไม่มีวันร่วงโรย

 

  1. เราได้รับการพัฒนาชีวิตให้เติบโตเป็นเหมือนพระเยซู

เอเฟซัส 4:12-13 12เพื่อเตรียมธรรมิกชนให้เป็นคนที่จะรับใช้ เพื่อเสริมสร้างพระกายของพระคริสต์ให้จำเริญขึ้น 13จนกว่าเราทุกคนจะบรรลุถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในความเชื่อและในความรู้ถึงพระบุตรของพระเจ้า บรรลุถึงความเป็นผู้ใหญ่ คือโตเต็มถึงขนาดความบริบูรณ์ของพระคริสต์

ลักษณะชีวิตของเราจะถูกพัฒนาขึ้นมา ก็ต่อเมื่อเราร่วมผูกพันตัวอยู่ในคริสตจักร และ มีความสัมพันธ์อย่างถูกต้องกับพี่น้องคนอื่นๆ ที่อยู่ในคริสตจักร ซึ่งพระเจ้าใช้พี่น้องในคริสตจักรให้เป็นส่วนหนึ่ง ที่จะพัฒนาและปรับปรุงชีวิตของเราซึ่งกัน และกันให้เติบโต เป็นผู้ใหญ่ในพระคริสต์มากขึ้น

การรับใช้พระเจ้าในคริสตจักรเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราเกิดการพัฒนาชีวิตได้อย่างดีเยี่ยมด้วย

 

  1. ได้รับการปกป้องให้พ้นจากคำสอนผิด

ในโลกความเป็นจริง เรายังพบคำสอนผิดหรือคำสอนประเภทบิดเบือนอยู่มากมาย ยิ่งในยุคที่การสื่อสารไร้พรมแดน เรายิ่งพบคำสอนผิดได้ง่าย ฉะนั้นการที่เราอยู่ในคริสตจักร และร่วมผูกพันตัวจะทำให้เราได้รับการสอนอย่างถูกต้องในหลักการพระคัมภีร์ เพื่อเราจะมั่นคงในความเชื่อจนเราเราสามารถแยกแยะคำสอนที่ถูกผิดได้

กิจการของอัครทูต 20:29 ข้าพเจ้าทราบอยู่แล้วว่า เมื่อข้าพเจ้าไปแล้วจะมีพวกสุนัขป่าที่ดุร้ายเข้ามาในหมู่พวกท่าน และจะไม่ละเว้นฝูงแกะไว้เลย

คริสตจักรจะช่วยเราป้องกันคำสอนผิดที่จะอาจทำลายความเชื่อที่ถูกต้องของเราได้

เอเฟซัส 4:14  เพื่อเราจะไม่เป็นเด็กอีกต่อไป ถูกซัดไปซัดมาและพัดไปพัดมาด้วยลมคำสั่งสอนทุกอย่าง ด้วยเล่ห์กลของมนุษย์ ตามอุบายที่ฉลาดในการล่อลวง

 

  1. ได้มีความสัมพันธ์กับพี่น้องอย่างลึกซึ้ง

พระคัมภีร์ให้ภาพของชีวิตในชุมชนไว้มากมาย เช่น

  • มีส่วนในการรับใช้

โรม 12:4-5 เพราะว่าในร่างกายเดียวนั้น เรามีอวัยวะหลายอย่าง และอวัยวะนั้นๆ มีหน้าที่ต่างกันอย่างไร เราผู้เป็นหลายคนยังเป็นกายเดียวในพระคริสต์และเป็นอวัยวะแก่กันและกันอย่างนั้น

 

  • รักกันและกัน

1 ยอห์น 4:7  ท่านที่รักทั้งหลาย ขอให้เรารักกันและกัน เพราะว่าความรักมาจากพระเจ้า และทุกคนที่รักก็เกิดจากพระเจ้า และรู้จักพระเจ้า

 

  • ต้อนรับกันและกัน

โรม 15:7เพราะฉะนั้นจงต้อนรับกันและกัน เช่นเดียวกับที่พระคริสต์ได้ทรงต้อนรับท่าน เพื่อพระเกียรติของพระเจ้า

  • หนุนใจกันและกัน

ฮีบรู 3:13  แต่จงหนุนใจกันและกันทุกวัน ตลอดเวลาที่เรียกกันว่า “วันนี้” เพื่อจะไม่มีใครในพวกท่านมีใจดื้อรั้นไป เพราะการล่อลวงของบาป

  • ช่วยเหลือกัน

ฮีบรู 13:16  อย่าละเลยที่จะทำความดี และแบ่งปันข้าวของซึ่งกันและกัน เพราะเครื่องบูชาอย่างนั้นเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า

  • อดทนและให้อภัยกันและกัน

โคโลสี 3:13  จงอดทนต่อกันและกัน และถ้าใครมีเรื่องราวต่อกัน ก็จงให้อภัยกัน องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงให้อภัยพวกท่านอย่างไร ท่านก็จงทำอย่างนั้นด้วย

เอเฟซัส 4:32  แต่จงมีใจกรุณา ใจสงสาร และใจให้อภัยแก่กันและกัน เหมือนอย่างที่พระเจ้าทรงให้อภัยพวกท่านในพระคริสต์

  • เรียนรู้จักการขอโทษคืนดีกัน

ยากอบ 5:16 เพราะฉะนั้นท่านจงสารภาพบาปต่อกันและกัน และจงอธิษฐานเผื่อกันและกัน เพื่อท่านทั้งหลายจะได้รับการรักษาโรค คำวิงวอนของผู้ชอบธรรมนั้นมีพลังมากและเกิดผล

 

ปัจจุบันสไตล์ของคริสตจักรถูกพัฒนาขึ้นมาก จากรูปแบบอนุรักษ์นิยมไปสู่รูปแบบที่ร่วมสมัย มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามา เรามีการถ่ายทอดรอบนมัสการวันอาทิตย์ทางสื่อออนไลน์ ซึ่งอาจช่วยได้บ้างในบางครั้ง แต่อย่างไรก็ตามโบสถ์ออนไลน์ไม่สามารถทดแทนการมาคริสตจักรได้เพราะหลายอย่างอาจไม่ได้ตอบโจทย์การเสริมสร้างชีวิตของกันและกันในชุมชนคริสตจักรได้

 

“คริสตจักรไม่ใช่ตัวอาคาร” แต่หมายถึง ชุมชนผู้ที่กลับใจบังเกิดใหม่เชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์อย่างแท้จริงที่ตั้งใจมาอยู่ร่วมกันเพื่อดำเนินชีวิตตามพระประสงค์พระเจ้าโดยมีพระเยซูเป็นศูนย์กลาง

ข้อมูลอ้างอิง

 

บทที่ 2 : รู้จักพระเจ้า

บทเรียน ซีรีส์พื้นฐานชีวิตคริสเตียน บทที่ 2 : รู้จักพระเจ้า

รู้จักพระเจ้าของเรา

  • พระลักษณะพระเจ้าผู้ทรงเป็นตรีเอกานุภาพ

  • พระเจ้าคาดหวังให้เราเป็นพระฉายสะท้อนภาพของพระองค์

  • อ้างอิง

ยอห์น 1:1-4  1ในปฐมกาลพระวาทะทรงดำรงอยู่ และพระวาทะทรงอยู่กับพระเจ้า และพระวาทะทรงเป็นพระเจ้า 2ในปฐมกาลพระองค์ทรงอยู่กับพระเจ้า 3พระเจ้าทรงสร้างสรรพสิ่งขึ้นมาโดยพระวาทะ ในบรรดาสิ่งที่เป็นอยู่นั้น ไม่มีสักสิ่งเดียวที่เป็นอยู่นอกเหนือพระวาทะ 4พระองค์ทรงเป็นแหล่งชีวิต และชีวิตนั้นเป็นความสว่างของมนุษย์

พระเจ้าทรงเป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง พระเยซูในตอนนี้ถูกกล่าวถึงในชื่อของพระวาทะ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าและเป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง พระเจ้าทรงเป็นแหล่งชีวิต และชีวิตเป็นความสว่างของมนุษย์

การมาเป็นคริสเตียน คือการกลับมามีความสัมพันธ์กับพระเจ้าใหม่อีกครั้งในฐานะที่พระเจ้าทรงเป็นพระบิดา และเราทั้งหลายเป็นบุตรของพระองค์ ผู้ได้รับการช่วยกู้โดยพระโลหิตของพระเยซูคริสต์ที่ทรงจ่ายราคาเป็นค่าไถ่เราออกจากความบาป และพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ลงมาสถิตอยู่กับเรา วิถีชีวิตคริสเตียนจึงเริ่มต้นโดยพระเจ้าและดำเนินต่อไปด้วยการรู้จักพระเจ้ามากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดชีวิตของเรา

อ.เปาโลเขียนไว้ในคำอธิษฐานเผื่อพี่น้องคริสเตียนที่เมืองเอเฟซัสเพื่อให้เขารู้จักพระเจ้ามากขึ้นว่าทรงเป็นพระเจ้าที่มองเห็นคุณค่า ทรงประทานความรอด ประทานมรดก ทรงเป็นพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่สูงสุดเหนือภูตผีวิญญาณชั่วและเหนือนามทั้งปวง

เอเฟซัส 1:18-20  18ขอให้ตาใจของพวกท่านสว่างขึ้น เพื่อจะได้รู้ว่าพระองค์ประทานความหวังอะไรแก่ท่านในการทรงเรียกพวกท่านนั้น และรู้ว่ามรดกที่มีศักดิ์ศรีของพระองค์สำหรับพวกธรรมิกชนนั้นบริบูรณ์เพียงไร 19และรู้ว่าฤทธานุภาพของพระองค์ยิ่งใหญ่มากมายเพียงไรสำหรับเราที่เชื่อนั้น เป็นฤทธิ์เดชเดียวกับการทำกิจอันทรงอานุภาพและทรงพลังของพระองค์ 20ซึ่งทรงทำในพระคริสต์เมื่อทรงทำให้พระคริสต์เป็นขึ้นจากตาย และทรงให้ประทับที่เบื้องขวาพระหัตถ์ของพระองค์ในสวรรคสถาน

ในจุดเริ่มต้นของชีวิตคริสเตียน พระเจ้าทรงเป็นผู้ประทานความรอด พระเยซูทรงสิ้นพระชนม์เพื่อบาปของเรา และทรงสถิตในใจของเรา แต่พระเจ้าของเราเป็นมากกว่านั้น หากเรารู้จักพระเจ้ามากขึ้น เราจะยิ่งซาบซึ้งในความรักความห่วงใยของพระองค์ที่มีต่อเรามากขึ้น และเราจะมีมุมมองใหม่ในการดำเนินชีวิตกับพระเจ้าได้ดียิ่งขึ้นตลอดชีวิตแห่งความเชื่อของเรา

พระลักษณะพระเจ้าผู้ทรงเป็นตรีเอกานุภาพ

พระเจ้าทรงสัมพันธ์กับเราในพระลักษณะที่แตกต่างกันในวาระและเวลาต่างๆ พระลักษณะของพระเจ้าหรือสภาพของพระเจ้าที่ทรงโปรดสำแดงแก่เรามี 3 ลักษณะด้วยกันเรียกว่า “ตรีเอกานุภาพ” หรือ “Trinity

ตรีเอกานุภาพ” เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้น เพื่อง่ายต่อการที่เราทั้งหลายจะสามารถเข้าใจพระลักษณะของพระเจ้า โดยอธิบายสภาพความเป็นพระเจ้าเดียว แต่ทรงสภาพในความเป็นบุคคลคือพระบิดา พระบุตรหรือพระเยซูคริสต์ และพระวิญญาณบริสุทธิ์

จากแผนภูมิพระเจ้าตรีเอกานุภาพ สามารถอธิบายความเป็น “พระเจ้าเดียว แต่ทรงสภาพเป็น 3 บุคคล” ได้ดังนี้ [1]
  • The Father is God พระบิดาทรงเป็นพระเจ้า
  • The Son is God พระบุตรคือพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเจ้า
  • The Holy Spirit is God พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นพระเจ้า
  • God is the Father พระเจ้าทรงเป็นพระบิดา
  • God is the Son พระเจ้าทรงเป็นพระบุตรคือพระเยซูคริสต์
  • God is the Holy Spirit พระเจ้าทรงเป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์
  • The Father is not the Son พระบิดาไม่ได้ทรงเป็นพระบุตร
  • The Father is not the Holy Spirit พระบิดาไม่ทรงเป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์
  • The Son is not the Father พระบุตรไม่ทรงเป็นพระบิดา
  • The Son is not the Holy Spirit พระบุตรไม่ทรงเป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์
  • The Holy Spirit is not the Father พระวิญญาณบริสุทธิ์ไม่ทรงเป็นพระบิดา
  • The Holy Spirit is not the Son พระวิญญาณบริสุทธิ์ไม่ทรงเป็นพระบุตร

คำว่า “ตรีเอกานุภาพ” นี้มาจากคำ 3 คำด้วยกันคือ “ตรี” แปลว่า สาม “เอกา” แปลว่า หนึ่ง และ “นุภาพ” แปลว่าสภาพ เมื่อรวมทั้ง 3 คำนี้เป็นคำเดียวกันจึงหมายถึง พระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียวที่สำแดงพระองค์ในลักษณะ 3 บุคคล โดยแต่ละลักษณะมีความเป็นพระเจ้าเท่าเทียมกัน ทรงเป็นพระเจ้าที่อยู่ร่วมกันมาตั้งแต่นิรันดร์ ทรงแสดงบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันไปตามพระลักษณะความเป็นบุคคลที่สำแดงออกมา พระเจ้าในลักษณะของตรีเอกานุภาพจึงไม่ใช่พระเจ้า 3 องค์ แต่ทรงเป็นพระเจ้าเดียว และพระลักษณะตรีเอกานุภาพนี้ ได้สำแดงให้เราเห็นตั้งแต่ยุคพระคัมภีร์เดิม ยุคพระคัมภีร์ใหม่จนถึงในยุคปัจจุบัน

พระลักษณะของพระเจ้าที่เรียกว่าตรีเอกานุภาพ
จึงสรุปได้ว่าทรงเป็น “พระเจ้าเดียว แต่ทรงสภาพเป็น 3 บุคคล”

พระคัมภีร์บางข้อที่ช่วยให้เราเข้าใจพระลักษณะของพระเจ้าผู้ทรงเป็นตรีเอกานุภาพ คือพระเจ้าเดียว แต่ทรงสภาพเป็น 3 บุคคล

เฉลยธรรมบัญญัติ 6:4  โอ คนอิสราเอล จงฟังเถิด พระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์เท่านั้นทรงเป็นพระเจ้าของเรา

ในเหตุการณ์ที่พระเยซูทรงรับบัพติศมาในน้ำเราจะพบว่าพระเจ้าใน 3 สภาพทรงปรากฏพระองค์พร้อมๆ กัน

มัทธิว 3:16-17  เมื่อพระองค์ทรงรับบัพติศมาแล้วก็เสด็จขึ้นจากน้ำ และในทันใดนั้นฟ้าก็แหวกออก และพระองค์ทรงเห็นพระวิญญาณของพระเจ้าเสด็จลงมาดุจนกพิราบสถิตบนพระองค์ และนี่แน่ะ มีพระสุรเสียงตรัสจากฟ้าสวรรค์ว่า “ท่านผู้นี้เป็นบุตรที่รักของเรา เราชอบใจท่านมาก”

พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นพระเจ้าและทรงสถิตอยู่กับเรา

โรม 8:9  ถ้าพระวิญญาณของพระเจ้าสถิตอยู่ในพวกท่านแล้ว ท่านก็ไม่อยู่ในเนื้อหนัง แต่อยู่ในพระวิญญาณ ใครไม่มีพระวิญญาณของพระคริสต์ คนนั้นก็ไม่เป็นของพระองค์

ฉะนั้นโดยสรุปแล้วพระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าเดียวแต่ทรงมีสภาพเป็น 3 บุคคล ซึ่งหากเราพิจารณาดูพระราชกิจของพระองค์[2]จะสามารถอธิบายได้ดังนี้ คือ

  1. พระบิดา (God the Father is the Creator) ทรงเป็นพระผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ พระราชกิจของพระองค์ทรงปรากฏอย่างชัดเจนตลอดพระคัมภีร์โดยเฉพาะพระคัมภีร์เดิม
  2. พระบุตร (God the Son is the Savior) ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงเสด็จลงมารับสภาพเป็นมนุษย์ทรงพระนามว่าพระเยซูคริสต์ พระองค์มาเพื่อไถ่มนุษย์ให้รอดพ้นจากการพิพากษาเพราะบาป ให้ทุกคนที่เชื่อได้รับชีวิตใหม่ มีชีวิตนิรันดร์ และได้รับการยกฐานะให้เป็นบุตรของพระเจ้า
  3. พระวิญญาณบริสุทธิ์ (God the Holy Spirit is the Sanctifier) ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงประทานชีวิตนิรันดร์ และการชำระให้บริสุทธิ์ ทรงเป็นพระผู้ช่วย ที่สถิตอยู่ในผู้ที่เชื่อทุกคน

ในความจำกัดของมนุษย์ เราต้องยอมรับว่าเราไม่อาจจะเข้าใจความเป็นพระเจ้าได้ทั้งหมดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เราเพียงพยายามเข้าใจ “เท่าที่พระเจ้าทรงสำแดงพระองค์แก่เรา” ซึ่งนั่นก็เพียงพอในการเดินติดตามพระเจ้าได้อย่างแน่นอน

พระเจ้าคาดหวังให้เราเป็นพระฉายสะท้อนภาพของพระองค์

เราทั้งหลายถูกสร้างขึ้นในพระฉายของพระเจ้า (Image) เป็นผู้ที่สะท้อนภาพพระลักษณะของพระเจ้า ไม่มีสิ่งทรงสร้างไหนเลยที่ถูกสร้างตามพระฉายของพระเจ้า

พระฉายของพระเจ้าไม่ใช่รูปร่างภายนอกที่เหมือนพระเจ้า เพราะพระเจ้าทรงเป็นเหนือกว่ารูปร่างภายนอก หรือไม่ใช่ฤทธิ์อำนาจไม่จำกัดแบบพระเจ้า แต่พระฉายนั้นเป็นคุณลักษณะชีวิตของเราที่สะท้อนให้เห็นความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า เพื่อพระเจ้าจะทรงได้รับเกียรติผ่านชีวิตของเราที่สะท้อนออกมาอย่างถวายเกียรติพระเจ้าเสมอ

พระเจ้าทรงมีพระลักษณะอะไรที่ทรงคาดหวังให้เราเป็นและสะท้อนออกไปจากชีวิตเราสู่คนภายนอก

  1. พระเจ้าทรงบริสุทธิ์

วิวรณ์ 4:8  สิ่งมีชีวิตทั้งสี่นั้น แต่ละตนมีปีกหกปีก และมีตาอยู่รอบๆ และข้างในเต็มไปหมด และพวกเขาร้องตลอดวันตลอดคืนไม่ได้หยุดเลยว่า “บริสุทธิ์ บริสุทธิ์ บริสุทธิ์ องค์พระผู้เป็นเจ้าคือพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด ผู้ทรงเคยเป็นอยู่ ผู้ทรงเป็นอยู่ และผู้ที่จะเสด็จมา”

ความบริสุทธิ์ของพระเจ้าตรงข้ามกับความบาป ชีวิตคริสเตียนเป็นชีวิตที่พระเจ้าทรงคาดหวังให้เราอยู่ในความสว่าง เปลี่ยนแปลงชีวิต ละทิ้งความบาปทั้งสิ้น ดำเนินชีวิตติดตามพระเจ้าในความบริสุทธิ์ชอบธรรม

  1. พระเจ้าทรงยุติธรรม ขณะเดียวกันก็ทรงรักเรา

พระเจ้าทรงพิพากษาเมื่อมนุษย์ทำบาป มนุษย์ทุกคนจึงขาดจากพระสิริพระเจ้า และต้องถูกพิพากษาในนรกบึงไฟ แต่พระเจ้าทรงสำแดงความรักอย่างมากมายโดยลงมาเป็นมนุษย์คือพระเยซูคริสต์เพื่อไถ่บาปเราโดยซื้อเรากลับมาเป็นของพระเจ้าด้วยราคาที่สูงมากคือด้วยพระชนม์ชีพของพระองค์เอง

โรม 5:8  แต่พระเจ้าทรงสำแดงความรักของพระองค์แก่เรา คือขณะที่เรายังเป็นคนบาปอยู่นั้น พระคริสต์สิ้นพระชนม์เพื่อเรา

เราในฐานะลูกของพระเจ้า เราเกลียดบาป เราดำเนินชีวิตด้วยความชอบธรรมบริสุทธิ์ด้วยกำลังจากพระเจ้า แต่เรารักคนบาป และประกาศความรอดที่มาทางพระเยซูคริสต์แก่ทุกคนด้วยใจรัก

  1. พระเจ้าเป็นพระเจ้าแห่งการให้อภัย

พระเจ้าทรงให้อภัยการละเมิดของเรา การให้อภัยของพระองค์นั้นนำมาซึ่งขั้นตอนมากมายเต็มไปด้วยพระคุณและความเสียสละที่ยิ่งใหญ่ของพระเยซูคริสต์เพื่อเราจะรับการอภัยอย่างง่ายๆ นี่จึงเป็นพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์คือการให้อภัยบาปเราแม้เราเป็นคนบาปซึ่งไม่สมควรแก่พระคุณอันอุดมของพระองค์ก็ตาม

เมื่อพระเจ้าทรงให้อภัยเราอย่างนี้แล้ว ให้เราให้อภัยความผิดของผู้อื่นด้วย

เอเฟซัส 4:32  แต่จงมีใจกรุณา ใจสงสาร และใจให้อภัยแก่กันและกัน เหมือนอย่างที่พระเจ้าทรงให้อภัยพวกท่านในพระคริสต์

  1. พระเจ้าทรงสนใจเราในทุกสิ่ง

มัทธิว 6:31-33  เหตุฉะนั้นอย่ากระวนกระวายและกล่าวว่าจะเอาอะไรกิน? หรือจะเอาอะไรดื่ม? หรือจะเอาอะไรนุ่งห่ม? เพราะว่าบรรดาคนต่างชาติแสวงหาสิ่งทั้งปวงนี้ แต่ว่าพระบิดาของพวกท่านผู้สถิตในสวรรค์ทรงทราบแล้วว่าท่านต้องการสิ่งทั้งปวงนี้ แต่พวกท่านจงแสวงหาแผ่นดินของพระเจ้า และความชอบธรรมของพระองค์ก่อน แล้วพระองค์จะทรงเพิ่มเติมสิ่งทั้งปวงนี้ให้

เราจึงสามารถไว้วางใจในพระองค์และไม่ต้องใช้ชีวิตอย่างกระวนกระวายใจ

การเป็นคริสเตียนให้โอกาสแก่เราอย่างมากมายในการรู้จักพระเจ้า การรู้จักพระเจ้าช่วยให้เราเป็นเหมือนพระฉายของพระองค์มากขึ้น พระเจ้าทรงคาดหวังให้ชีวิตของเราให้ดำเนินอย่างเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้า สำแดงพระลักษณะของพระองค์เพื่อให้พระเจ้าจะทรงได้รับเกียรติในชีวิตของเราเสมอ

 

อจ. ดร.กนก ลีฬหเกรียงไกร

อ้างอิง

  • เอลเมอร์ แอล. ทาวน์ส. “พระนามของพระเจ้า”. กรุงเทพฯ: คริสเตียนศึกษา แบ๊บติสต์.
  • จอห์น เดวิส. “เพิ่มความรู้”. กรุงเทพมหานคร: กนกบรรณสาร,
  • Alister E. McGrath. “Christian Theology: An Introduction”. Oxford: Blackwell Publishing. 2001.
  • William Perault. “Shield of the Trinity”. 

[1] The Athanasian Creed

[2] Trinity as functional modalism

บทที่ 4 : การบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์

บทเรียน ซีรีส์พื้นฐานชีวิตคริสเตียน บทที่ 4 : การบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์

การบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์

ยอห์น 3:3-8  3พระเยซูตรัสตอบเขาว่า“เราบอกความจริงกับท่านว่าถ้าคนใดไม่ได้เกิดใหม่ คนนั้นไม่สามารถเห็นแผ่นดินของพระเจ้า”4นิโคเดมัสทูลพระองค์ว่า“คนชราจะเกิดใหม่ได้อย่างไร?จะเข้าไปในท้องของแม่ครั้งที่สองแล้วเกิดใหม่ได้หรือ?”5พระเยซูตรัสว่า“เราบอกความจริงกับท่านว่าถ้าใครไม่ได้เกิดจากน้ำและพระวิญญาณคนนั้นจะเข้าในแผ่นดินของพระเจ้าไม่ได้6ที่เกิดจากเนื้อหนังก็เป็นเนื้อหนังและที่เกิดจากพระวิญญาณก็เป็นวิญญาณ7อย่าประหลาดใจที่เราบอกท่านว่าพวกท่านต้องเกิดใหม่8ลมจะพัดไปที่ไหนก็พัดไปที่นั่นและท่านได้ยินเสียงลมนั้นแต่ไม่รู้ว่าลมมาจากไหนและไปที่ไหนคนที่เกิดจากพระวิญญาณก็เป็นอย่างนั้นทุกคน”

เมื่อคริสเตียนกลับใจบังเกิดใหม่อย่างแท้จริงเขาได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์เข้ามาในชีวิต และเมื่อพระวิญญาณเข้ามาในชีวิตนั่นหมายถึงความบริบูรณ์ทุกสิ่งอยู่กับคนๆนั้นเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่การรอให้ผู้นั้นเติบโตในความจริงและความเชื่อก็จะสามารถเกิดผลดีในทุกสิ่งได้

คนที่กลับใจบังเกิดใหม่มาเป็นคริสเตียนแล้ว แม้ภายนอกดูเหมือนไม่แตกต่างจากคนธรรมดาทั่วไป แต่จริงๆ แล้วคริสเตียนเป็นคนธรรมดาที่ไม่ธรรมดาเพราะคริสเตียนมีพระเจ้าที่ทรงทำการอัศจรรย์ต่างๆ อยู่ในชีวิตคริสเตียนจึงไม่ใช่คนธรรมดาแต่มี (ฤทธิ์เดช) พระวิญญาณ ของพระเจ้าในชีวิต

ฐานะที่เราเป็นคริสเตียนเราจึงคาดหวังการดำเนินชีวิตที่ติดตามพระเจ้าด้วยฤทธิ์เดชเช่นกัน เราจึงไม่ควรคาดหวังการดำเนินชีวิตธรรมดาๆเหมือนคนที่ไม่รู้จักพระเจ้าแต่ต้องคาดหวังชีวิตที่ตื่นเต้นกระตือรือร้นที่จะเห็นฤทธิ์เดชของพระเจ้าผ่านชีวิตของเราและการบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ พูดภาษาแปลกๆ เป็นทางแห่งฤทธิ์เดชในชีวิตคริสเตียน

บัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นทางแห่งการเต็มล้นด้วยพระวิญญาณและพระวิญญาณทรงเป็นฤทธานุภาพของพระเจ้าในเรา (ฤทธิ์เดช)

กิจการของอัครทูต1:8  แต่พวกท่านจะได้รับพระราชทานฤทธานุภาพเมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ เสด็จมาเหนือท่านและท่านทั้งหลายจะเป็นสักขีพยานของเราในกรุงเยรูซาเล็ม ทั่วแคว้นยูเดีย ทั่วแคว้นสะมาเรีย และจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก

พระคัมภีร์ตอนนี้บอกเราอย่างชัดเจนว่าเราจะได้รับฤทธานุภาพจากพระเจ้า (ฤทธิ์เดช) เมื่อเราได้รับบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์และผลของการได้รับบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์จะทำให้เรามีฤทธิ์เดชในการประกาศและเป็นพยานในฝ่ายพระเยซูคริสต์การบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์จึงเป็นหนทางแห่งการรับฤทธานุภาพ (ฤทธิ์เดช)ของพระเจ้าในชีวิตของเรา

ก่อนที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ พระองค์ตรัสให้สาวกรอยู่ก่อนที่จะไปทำพระราชกิจ จนกระทั่งเขาได้รับบัพติศมาในพระวิญญาณฯ ทั้งหมดเต็มเปี่ยมด้วยการเต็มเปี่ยมในพระวิญญาณ และได้รับฤทธานุภาพจากพระเจ้า (ฤทธิ์เดช) เริ่มต้นพูดภาษาแปลกๆ และจากนั้นเป็นต้นมา การประกาศข่าวประเสริฐและการอัศจรรย์ยิ่งใหญ่เกิดขึ้นตลอดพระคัมภีร์ใหม่

กิจการของอัครทูต 2:4  พวกเขาทั้งหมดก็เต็มเปี่ยมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ จึงเริ่มต้นพูดภาษาอื่นๆ ตามที่พระวิญญาณทรงให้พูด

การพูดภาษาแปลกๆหรือภาษาอื่นๆเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งชี้อย่างชัดเจนถึงประสบการณ์การเต็มล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์
เมื่อเรารับบัพติศมาในพระวิญญาณเราจึงพูดภาษาแปลก ๆ ได้

กิจการของอัครทูต 8:14-17 เมื่อพวกอัครทูตที่อยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม ได้ยินว่าชาวสะมาเรียได้รับพระวจนะของพระเจ้าแล้ว จึงให้เปโตรกับยอห์นไปหาเขาทั้งหลาย เมื่อเปโตรกับยอห์นไปถึงก็อธิษฐานเผื่อพวกเขา เพื่อให้พวกเขาได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพราะว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ยังไม่ได้เสด็จลงมาสถิตกับใคร พวกเขาเพียงแต่ได้รับบัพติศมาในพระนามของพระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น เปโตรกับยอห์นจึงวางมือบนพวกเขา แล้วพวกเขาได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์แล้วพวกเขาได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์

ในกรณีทั่วไป คริสเตียนสามารถรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้การรับการอธิษฐานเผื่อ

กิจการของอัครทูต 10:44-46 ขณะเปโตรยังกล่าวคำเหล่านั้นอยู่ พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จลงมาสถิตกับทุกคนที่ฟังพระวจนะนั้น บรรดาคนเข้าสุหนัตที่เชื่อแล้วซึ่งมาพร้อมกับเปโตรต่างประหลาดใจ เพราะว่าพระเจ้าประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่คนต่างชาติด้วย เพราะเขาทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นพูดภาษาต่างๆ และยกย่องสรรเสริญพระเจ้า เปโตรจึงถามว่า

เหตุการณ์ตอนนี้ขณะที่เปโตรกำลังกล่าวพระวจนะแก่โครเนลิอัส พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ลงมา เปโตรรู้ทันทีเพราะสังเกตเห็นว่าเขาสามารถพูดภาษาแปลกๆได้การรับประสบการณ์บัพติศมาในพระวิญญาณยังเกิดกับคนที่มีใจแสวงหาพระเจ้าโดยไม่ต้องผ่านการวางมือในบางกรณี

เราจึงเห็นได้ว่าประสบการณ์การรับบัพติศมาในพระวิญญาณเป็นพระราชกิจของพระวิญญาณ ไม่ใช่เป็นเรื่องการกระทำของมนุษย์หากเราปรารถนาจะเชื่อฟังพระเจ้าโดยเข้าส่วนในการรับบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์อย่างแท้จริงแล้วพระเจ้าจะทรงประทานให้แก่เราอย่างแน่นนอนเพราะนี่เป็นพระสัญญาของพระเจ้าต่อผู้เชื่อทุกคน

กิจการของอัครทูต 19:4-6 4เปาโลจึงกล่าวว่า “ยอห์นให้รับบัพติศมาที่แสดงการกลับใจใหม่ และบอกคนทั้งปวงให้เชื่อในพระองค์ผู้จะเสด็จมาภายหลังคือพระเยซู” 5เมื่อได้ยินอย่างนั้น พวกเขาจึงรับบัพติศมาในพระนามของพระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้า 6เมื่อเปาโลวางมือบนตัวพวกเขาแล้ว พระวิญญาณบริสุทธิ์ก็เสด็จลงมาสถิตกับพวกเขา พวกเขาจึงพูดภาษาแปลกๆ และเผยพระวจนะ

ทันทีที่อาจารย์เปาโลวางมือบนเขา เขาได้รับบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ พูดภาษาแปลกๆ และทำนายหรือกล่าวคำพยากรณ์ได้ด้วยสิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์ฤทธิ์เดชการอัศจรรย์ที่มาจากพระเจ้าโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์

 

ประโยชน์ของการรับบัพติศมาในพระวิญญาณบริสุทธิ์

  1. ฤทธิ์เดชในการเป็นพยาน

กิจการของอัครทูต 1:8  แต่พวกท่านจะได้รับพระราชทานฤทธานุภาพ เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จมาเหนือท่าน และท่านทั้งหลายจะเป็นสักขีพยานของเราในกรุงเยรูซาเล็ม ทั่วแคว้นยูเดียทั่วแคว้นสะมาเรียและจนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก

  1. เป็นประตูที่เปิดสู่การพัฒนาของประทานฝ่ายพระวิญญาณ

กิจการของอัครทูต 19:6 เมื่อเปาโลวางมือบนตัวพวกเขาแล้วพระวิญญาณบริสุทธิ์ก็เสด็จลงมาสถิตกับพวกเขา พวกเขาจึงพูดภาษาแปลกๆ และเผยพระวจนะ

  1. ทำให้ผู้พูดจำเริญขึ้นในฝ่ายวิญญาณ เพราะเป็นภาษาฝ่ายวิญญาณ

1 โครินธ์ 14:2 เพราะว่าคนที่พูดภาษาแปลกๆ นั้น ไม่ได้พูดกับมนุษย์ แต่ทูลต่อพระเจ้า เพราะว่าไม่มีใครเข้าใจได้ เขาพูดเป็นความล้ำลึกโดยพระวิญญาณ”

 

1 โครินธ์ 14:4 คนที่พูดภาษาแปลกๆ นั้นก็ทำให้ตัวเองเจริญขึ้น แต่ผู้เผยพระวจนะนั้นทำให้คริสตจักรเจริญขึ้น

  1. การอธิษฐานภาษาแปลกๆ จะช่วยให้เราอธิษฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โรม 8:26 ในทำนองเดียวกัน พระวิญญาณก็ทรงช่วยเมื่อเราอ่อนกำลังด้วย เพราะเราไม่รู้ว่าควรจะอธิษฐานขออะไรอย่างไร แต่พระวิญญาณทรงช่วยขอแทน ด้วยการคร่ำครวญซึ่งไม่อาจกล่าวเป็นถ้อยคำ

วิธีการรับบัพติศมาในพระวิญญาณ

ลูกา 11:9-13 เราบอกพวกท่านว่า จงขอแล้วจะได้ จงหาแล้วจะพบ จงเคาะแล้วจะเปิดให้แก่ท่าน เพราะว่าทุกคนที่ขอก็ได้ ทุกคนที่แสวงหาก็พบ และทุกคนที่เคาะก็จะเปิดให้เขา มีใครบ้างในพวกท่านที่เป็นพ่อ ถ้าลูกขอปลาจะเอางูให้เขาแทนหรือ? หรือถ้าขอไข่ จะเอาแมงป่องให้เขาหรือ? เพราะฉะนั้น ถ้าพวกท่านเองผู้เป็นคนบาปยังรู้จักให้สิ่งดีแก่บุตรของตน ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใด พระบิดาผู้สถิตในสวรรค์จะประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์แก่พวกที่ขอต่อพระองค์”

การบัพติศมาในพระวิญญาณเป็นปรากฏการณ์ปกติในชีวิตของผู้เชื่อเมื่อเราขอด้วยใจจริงพระเจ้าจะประทานให้เพราะพระเจ้าทรงปรารถนาจะให้เราอยู่แล้วการวางมือเพื่อรับฤทธิ์เดชจากพระวิญญาณเพื่อการรับใช้ให้วางมือด้วยความเชื่อและหนุนใจให้เขาเปิดใจให้พระเจ้าทำงานในใจให้เชื่อว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์สามารถประทานการเกิดผลในทุกสิ่งได้ตามความเชื่อ ให้ผู้รับการอธิษฐานจดจ่อกับพระเจ้า

  1. ขออย่างจริงใจ ด้วยใจปรารถนาอย่างแท้จริง

  2. ไม่สงสัย เริ่มเปล่งเสียงพูดโดยความเชื่อ และไม่คิดคำในภาษาใดๆ

  3. ประสบการณ์การพูดภาษาฝ่ายวิญญาณ(แปลกๆภาษาแปลกๆ)หรือภาษาต่างๆจะ(ถูกพูดออก) มาอย่างเป็นธรรมชาติเอง

 

ชีวิตในพระวิญญาณเป็นชีวิตที่ตื่นเต้นเมื่อเราเป็นพยานเมื่อเราอ่านพระคัมภีร์เมื่อเราร่วมรับใช้พระเจ้าในคริสตจักรพระวิญญาณที่อยู่ในเราจะช่วยเราให้เราดำเนินชีวิตในทางพระเจ้าและเป็นกำลังใจให้เราในการเปลี่ยนแปลงชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์

 

อ้างอิง

  • เฮ็นรี่ แคลเรนซ์ ทีเซ่น. ศาสนศาสตร์ระบบ. กรุงเทพฯ: กนกบรรณาสาร, 1995.
  • อิริคสัน, มิลลาร์ด เจ., ศาสนศาสตร์คริสเตียน เล่ม 2. กรุงเทพฯ: พระคริสตธรรมกรุงเทพ, 20

 

บทที่ 5 : การพิธีบัพติศมาในน้ำ

บทเรียน ซีรีส์พื้นฐานชีวิตคริสเตียน บทที่ 5 : การบัพติศมาในน้ำ

พิธีบัพติศมาในน้ำ

มัทธิว 3:16-17  16เมื่อพระองค์ทรงรับบัพติศมาแล้วก็เสด็จขึ้นจากน้ำ และในทันใดนั้นฟ้าก็แหวกออก และพระองค์ทรงเห็นพระวิญญาณของพระเจ้าเสด็จลงมาดุจนกพิราบสถิตบนพระองค์ 17และนี่แน่ะ มีพระสุรเสียงตรัสจากฟ้าสวรรค์ว่า “ท่านผู้นี้เป็นบุตรที่รักของเรา เราชอบใจท่านมาก”

พระเยซูทรงรับพิธีบัพติศมาในน้ำ เป็นแบบอย่างให้แก่เราทุกคนที่จะเข้าสู่พิธีนี้เช่นเดียวกัน

พิธีบัพติศมาในน้ำคืออะไร

พิธีบัพติศมาในน้ำเป็นพิธีที่พระเยซูทรงสั่งให้เราทั้งหลายถือปฏิบัติ และมีการปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้

มัทธิว 28:19 เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงออกไปและนำชนทุกชาติมาเป็นสาวกของเรา จงบัพติศมาพวกเขาในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์

คำว่า “บัพติศมา” มาจากรากศัพท์ภาษากรีกใช้คำว่า bapto (βάπτω) และ baptizo (βαπτίζω) หมายถึงการปกคลุมด้วยน้ำ, จุ่มมิดในของเหลว, ทำให้สีย้อมติดขึ้นมาในการย้อมผ้า, การเข้าส่วน, การชำระล้าง เป็นต้น

พิธีบัพติศมาในน้ำทำกันในโลกยุคพระคัมภีร์ใหม่อยู่แล้ว เช่น คนยิวมีพิธีล้างตัวด้วยการจุ่มตัวในน้ำเพื่อชำระให้บริสุทธ์จากมลทิน หรือ พิธีบัพติศมาในน้ำ เป็นพิธีแสดงตัวของคริสเตียนในความเชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์ ที่เล็งถึงความจริงใจในการทิ้งบาป หันจากชีวิตเก่า ดำเนินในชีวิตใหม่ร่วมกับพระองค์ เหมือนดั่งชีวิตของเราถูกฝังไว้กับพระคริสต์ที่อุโมงค์ และกลับมามีชีวิตใหม่ร่วมกับพระองค์เมื่อพระองค์เป็นขึ้นจากความตาย

มัทธิว3: 11 ข้าพเจ้าให้ท่านรับบัพติศมาด้วยน้ำ แสดงว่ากลับใจใหม่ก็จริง แต่พระองค์ผู้จะมาภายหลังข้าพเจ้า ทรงยิ่งใหญ่กว่าข้าพเจ้า ซึ่งข้าพเจ้าไม่คู่ควรแม้แต่จะถือฉลองพระบาทของพระองค์ พระองค์จะทรงให้พวกท่านรับบัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และด้วยไฟ

 

กิจการของอัครทูต19: 4 เปาโลจึงกล่าวว่า “ยอห์นให้รับบัพติศมาที่แสดงการกลับใจใหม่ และบอกคนทั้งปวงให้เชื่อในพระองค์ผู้จะเสด็จมาภายหลังคือพระเยซู”

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา ให้บัพติศมาแก่ผู้ที่สารภาพบาปและกลับใจใหม่ให้มาเชื่อในพระเยซู ดังนั้นบัพติศมาในนามของพระเยซู คือการบัพติศมาที่ประกาศความเชื่อใน พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ (มธ 28:19) ซึ่งเปาโลอธิบายว่าหมายถึงการประกาศความเชื่อว่าพระเจ้าไถ่เราจากบาปแล้วและรับชีวิตใหม่ในพระเจ้า (รม 6:5-11)

ในพระธรรมกิจการของอัครทูต ได้อธิบายความหมายไว้อย่างชัดเจน ได้แก่

  1. เป็นการยืนยันถึงการรับการยกโทษบาป และหันมาเชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์

กิจการของอัครทูต 2:38 เปโตรจึงกล่าวกับเขาทั้งหลายว่า “จงกลับใจใหม่และรับบัพติศมาในพระนามของพระเยซูคริสต์ให้หมดทุกคน เพื่อพระเจ้าจะทรงยกความผิดบาปของท่านทั้งหลาย แล้วพวกท่านจะได้รับของประทานคือพระวิญญาณบริสุทธิ์

          ผู้ที่มีพระวิญญาณบริสุทธิ์ก็มีชีวิตใหม่จากพระเจ้า และเป็นของพระเจ้า

 

  1. เป็นการสะท้อนการบังเกิดใหม่

เป็นการสะท้อนความเชื่อว่าได้ตายต่อชีวิตตนเองและรับชีวิตของพระคริสต์ เชื่อ วางใจ ติดตามพระเยซู

กิจการของอัครทูต 19:4 เปาโลจึงกล่าวว่า “ยอห์นให้รับบัพติศมาที่แสดงการกลับใจใหม่ และบอกคนทั้งปวงให้เชื่อในพระองค์ผู้จะเสด็จมาภายหลังคือพระเยซู”

 

โรม 6:3-4 3ท่านทั้งหลายไม่รู้หรือว่า เราผู้ที่ได้รับบัพติศมาเข้าในพระเยซูคริสต์ ก็ได้รับบัพติศมานั้นเข้าในการตายของพระองค์? 4เพราะฉะนั้น เราจึงถูกฝังไว้กับพระองค์แล้ว โดยการรับบัพติศมาเข้าในการตายนั้น เพื่อว่าเมื่อพระบิดาทรงให้พระคริสต์เป็นขึ้นมาจากตายโดยพระสิริของพระองค์แล้ว เราก็จะได้ดำเนินตามชีวิตใหม่ด้วยเหมือนกัน

          ชีวิตใหม่ของคริสเตียนคือชีวิตที่สนิทกับพระเจ้าและจะได้รับกายใหม่เมื่อพระเยซูกลับมา (1 ปต 3:21,คส 2:12-31)

 

  1. เป็นพิธีที่แสดงให้รู้ว่าได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวของพระเจ้าแล้ว

กิจการของอัครทูต 10:47 “ใครจะห้ามคนเหล่านี้ที่ได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์เหมือนเราจากการรับบัพติศมาด้วยน้ำ?”

 

1 โครินธ์ 12:13 เพราะว่าไม่ว่าจะเป็นยิวหรือกรีก ทาสหรือเสรีชน เราได้รับบัพติศมาในพระวิญญาณองค์เดียวเข้าเป็นกายเดียวกัน และพระวิญญาณองค์เดียวกันเป็นเหมือนน้ำที่ประทานให้เราทุกคนได้ดื่ม

 

เอเฟซัส 4:4-6 4มีกายเดียวและมีพระวิญญาณองค์เดียว เหมือนอย่างที่ท่านได้รับการทรงเรียกให้มาถึงความหวังเดียวในการทรงเรียกพวกท่านนั้น 5มีองค์พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ความเชื่อเดียว บัพติศมาเดียว 6พระเจ้าองค์เดียวผู้เป็นพระบิดาของทุกคน พระองค์ทรงมีอำนาจเหนือสรรพสิ่ง ทรงทำการผ่านสรรพสิ่งและทรงอยู่ในทุกคน

          เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวพระเจ้า

โรม 8:16-17  16พระวิญญาณนั้นเป็นพยานร่วมกับจิตวิญญาณของเราว่า เราเป็นลูกของพระเจ้า 17และถ้าเราเป็นลูกแล้ว เราก็เป็นทายาท คือเป็นทายาทของพระเจ้า และเป็นทายาทร่วมกับพระคริสต์ เมื่อเราทนทุกข์ทรมานด้วยกันกับพระองค์ก็เพื่อจะได้ศักดิ์ศรีด้วยกันกับพระองค์ด้วย

ฉะนั้นหลักการและเหตุผลเบื้องหลังของพิธีบัพติศมาในน้ำ อธิบายแก่เราว่า ผู้ที่จะเข้าสู่พิธีนี้ได้นั้น จำเป็นต้องมีความเชื่อและวางใจในพระเยซูก่อน จึงจะสามารถรับด้วยความเข้าใจ เต็มใจ และจริงใจ เพื่อเป็นสิ่งที่จะกลับมาระลึกเสมอถึงความตั้งใจในการดำเนินชีวิตติดตามพระเจ้าอย่างแท้จริง

วิธีการรับบัพติศมาในน้ำ

การบัพติศมาในน้ำในปัจจุบันจะทำโดยคริสตจักรท้องถิ่น ผู้ที่สามารถรับใช้ต้องเป็นผู้ที่เชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์อย่างแท้จริง และรับโดยการ 1.กลับใจใหม่จากบาปหันมาเชื่อและวางใจในพระเยซูคริสต์อย่างแท้จริง 2.จุ่มมิดน้ำเล็งถึงการตายจากตัวเก่าฝังร่วมกับพระเยซู และ  

ทบทวนความเข้าใจในภาคปฏิบัติ

  1. ใครควรรับบัพติศมาในน้ำ – ทุกคนที่เชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์
  2. รับเมื่อไร – ในโอกาสแรกที่เป็นไปได้หลังจากเชื่อวางใจในพระเยซู

อย่าลังเลหรือกังวล รู้สึกว่าชีวิตยังไม่พร้อม หรือดีเพียงพอ เพราะเรารอดโดยพระคุณไม่ใช่โดยความดีที่เราทำ ให้เรามั่นใจในพระคุณพระเจ้าและกล้าเข้ามาสู่พิธีนี้อย่างมีความหมาย

  1. รับที่ไหน – คริสตจักร หรือสถานที่ที่คริสตจักรจัดขึ้น ปกติจะเป็นบ่อน้ำสำหรับบัพติศมา หรือสระว่ายน้ำ
  2. ใครเป็นผู้ประกอบพิธี – ศิษยาภิบาลคริสตจักร หรือผู้ที่ศิษยาภิบาลมอบหมาย
  3. รับได้กี่ครั้ง – รับครั้งเดียวก็เพียงพอ
  4. รับอย่างไร – จุ่มมิดน้ำ เพื่อสะท้อนความหมายที่ตรงไปตรงมาตามหลักพระคัมภีร์
  5. แต่งตัวอย่างไร – บางคริสตจักรจะมีชุดคลุมสำหรับพิธี แต่หากไม่มีให้ใส่ชุดปกติ เสื้อยืด กางเกงขาสั้น ดูมิดชิด เตรียมผ้าขนหนูหรือผ้าคลุมตัวหลังจากขึ้นจากน้ำ
  6. ไม่รับได้ไหม – พระเยซูสั่งให้เราเชื่อฟังพระองค์

มัทธิว 28:19 เหตุฉะนั้นเจ้าทั้งหลายจงออกไปสั่งสอนชนทุกชาติ ให้เป็นสาวกของเรา ให้รับบัพติศมาในพระนามแห่งพระบิดา พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์

แม้บัพติศมาในน้ำไม่ได้ทำให้ใครรอดจากบาป
เป็นเพียงพิธีที่แสดงออกภายนอกถึงความเชื่อภายใน
แต่หากเราเชื่ออย่างจริงใจภายในจิตใจ ขอให้เราเชื่อฟังพระองค์ต่อในเรื่องนี้ด้วย

 

ผู้เขียน: อจ. ดร.กนก ลีฬหเกรียงไกร

 

ข้อมูลอ้างอิง

  • Thomas R. Schreiner, Shawn D. Wright. Believer’s Baptism: Sign of the New Covenant in Christ. USA: B&H Books. 2007.
  • สตีฟ เทเลอร์. ศาสนศาสตร์ 3. กรุงเทพฯ: พระคริสตธรรมกรุงเทพ, 2015.
  • จอห์น เดวิส. เพิ่มความรู้. พิมพ์ครั้งที่ กรุงเทพฯ: กนกบรรณาสาร. 2011.
  • เฮ็นรี่ แคลเรนซ์ ทีเซ่น. ศาสนศาสตร์ระบบ. พิมพ์ครั้งที่ กรุงเทพฯ: กนกบรรณาสาร. 2005.
  • The New Schaff-Herzog encyclopedia of religious knowledge
  • The Encyclopedia of religion 1987

 

คนยิวในช่วงพระคัมภีร์ใหม่มีการทำพิธีบัพติศมา สำหรับคนต่างชาติที่ต้องการเป็นยิว 7 วันหลังรับการเข้าสุหนัต มีการสัมภาษณ์และพิธีเป็นการรับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชนชาติอิสราเอล

พิธีของยอห์น แสดงการกลับใจใหม่เพื่อรับการยกโทษความผิดบาป (มก 1:4, กจ19:4) แต่การบัพติศมาในพระนามพระเยซูคือการเข้าส่วนในการตายต่อบาป และรับชีวิตใหม่ในพระเยซูด้วย (รม 6: 2-8) ไม่ใช่เพียงแต่กลับใจจากบาปเป็นการเข้ามีส่วนในพระเยซูคริสต์ (กจ2:38, 1คร 12:13, มธ28:19)

 

บทที่ 6 : การอธิษฐาน

บทเรียน ซีรีส์พื้นฐานชีวิตคริสเตียน บทที่ 6: การอธิษฐาน

การอธิษฐาน

พระเยซูเป็นแบบอย่างในการอธิษฐานแก่เราอย่างมาก เราพบหลายครั้งในพระคัมภีร์พระเยซูอธิษฐานช่วงเช้า และหลายครั้งหลังจากจบภารกิจในการรับใช้

ลูกา 5:16 แต่พระองค์มักจะเสด็จออกไปยังที่เปลี่ยวและทรงอธิษฐาน

มาระโก 6:45-46  45แล้ว​พระ​องค์​ตรัส​สั่ง​ให้​พวก​สา​วก​ลง​เรือ​ทัน​ที​และ​ข้าม​ไป​ยัง​เมือง​เบธ​ไซ​ดา​ก่อน ระหว่าง​ที่​พระ​องค์​ทรง​รอ​ส่ง​ฝูง​ชน​กลับ​บ้าน 46หลัง​จาก​พระ​องค์​ทรง​ลา​พวก​เขา​แล้ว ก็​เสด็จ​ขึ้น​ภูเขา​เพื่อ​ทรง​อธิษ​ฐาน​ที่​นั่น

การอธิษฐาน สิ่งที่ชีวิตคริสเตียนขาดไม่ได้

จะว่าไปการอธิษฐานเปรียบเสมือนลมหายใจของคริสเตียนก็ไม่ผิด เพราะการอธิษฐานเป็นการพูดคุยติดต่อกับพระเจ้าของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราต้อนรับพระเยซูเข้ามาเป็นพระเจ้าของเรา เราสามารถสัมพันธ์สนิทกับพระเจ้าได้ในฐานะบุตรของพระองค์ และผู้ที่แสวงหาพระองค์เขาจะพบพระองค์ และชีวิตของเขาจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

การอธิษฐานเป็นทั้งชีวิตประจำวันและโอกาสพิเศษ
เราอาจจะมีบางเรื่องที่หนักใจอยากทูลต่อพระเจ้าเป็นพิเศษ
หรือเราอาจไม่มีอะไรเป็นพิเศษแต่อธิษฐานเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์สนิทกับพระองค์
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งดีมากสำหรับการพัฒนาชีวิตคริสเตียน

เมื่อพระเยซูทรงสอนสาวกให้อธิษฐาน ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจและพระเยซูทรงยกเป็นอุปมาสอนสาวกเรื่องการอธิษฐานคือท่าทีแห่งความเชื่อและความสนิทสนม พระเยซูให้ตัวอย่างของการรบเร้าขอขนมปังจากเพื่อนของตนยามดึก

ลูกา 11:5-7  5แล้วพระองค์ตรัสกับพวกเขาว่า “ใครในพวกท่านที่มีเพื่อนคนหนึ่ง และเขาไปหาเพื่อนคนนั้นในเวลาเที่ยงคืน พูดกับเขาว่า ‘เพื่อนเอ๋ย ขอยืมขนมปังสักสามก้อนเถิด 6เพราะเพื่อนของข้าเพิ่งเดินทางมาถึง และข้าไม่มีอะไรจะให้เขากิน’ 7เพื่อนที่อยู่ข้างในตอบว่า ‘อย่ารบกวนข้าเลย ประตูปิดแล้ว ลูกๆ กับตัวข้าก็เข้านอนกันหมดแล้ว ข้าไม่สามารถลุกขึ้นไปหยิบให้ท่านได้’

สุดท้ายเจ้าของบ้านยังเปิดให้เพราะทนการรบเร้าไม่ไหวจึงเปิดประตูและหยิบขนมปังให้

ความจำกัดทำให้เรากล้าขอ, ความเข้าใจทำให้เราขออย่างถูกต้อง, ความสนิทสนมทำให้เรากล้ารบเร้าและรู้จักรอคอย

ลูกา 11:8 เราบอกพวกท่านว่า แม้เขาจะไม่ลุกขึ้นไปหยิบให้คนนั้นเพราะเป็นเพื่อนกัน แต่ว่าเพราะถูกคนนั้นรบเร้าอย่างมาก เขาก็จะลุกขึ้นหยิบให้ตามที่คนนั้นต้องการ

การอธิษฐานเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยมกับพระเจ้า

1.ทำให้เราเรียนรู้ที่จะพึ่งพาพระเจ้าในการดำเนินชีวิตเสมอ

ในการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของเรา มีความไม่แน่นอนหลายอย่างที่เราอาจจะคาดไม่ถึง การพึ่งพาพระเจ้าจึงเป็นสิ่งที่ดียอดเยี่ยมในการดำเนินชีวิตของเรา

มัทธิว 26:41    ท่านทั้งหลายจงเฝ้าระวังและอธิษฐานเพื่อจะไม่ถูกทดลอง จิตวิญญาณพร้อมแล้วก็จริง แต่กายยังอ่อนกำลัง

2.ทำให้เราเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนความคิดของเรา

หลายครั้งเราอธิษฐานขอแล้วไม่ได้ ทำให้เราต้องทบทวนดูในหลายๆ สิ่ง เช่น เราขอในสิ่งที่ผิดหรือท่าทีผิดหรือไม่

ยากอบ 4:3  พวกท่านขอและไม่ได้รับเพราะขอผิด หวังจะเอาไปสนองความปรารถนาชั่วของตนเอง

พระเจ้าสนใจในชีวิตของเรามากกว่าการทำอะไรบางอย่างเพื่อพระเจ้า ในที่นี้แม้แต่เรื่องการอธิษฐานของเราส่วนตัวต่อพระเจ้า เราต้องปรับความคิดของเราตามพระคัมภีร์ ให้อภัยผู้อื่น ตั้งใจให้พระเจ้าเข้ามาเปลี่ยนความคิดของเราให้ถูกต้องตามพระคัมภีร์จริงๆ

มาระโก 11:25  และเมื่อพวกท่านยืนอธิษฐานอยู่ ถ้าพวกท่านมีเรื่องกับใคร จงยกโทษให้คนนั้น เพื่อว่าพระบิดาของพวกท่านผู้สถิตในสวรรค์ จะทรงยกโทษความผิดของพวกท่านด้วย

3.ทำให้เราสงบลงต่อพระประสงค์ของพระเจ้า

แม้แต่พระเยซู ในคืนก่อนที่พระองค์จะไปที่กางเขน ทรงมีความทุกข์ใจอย่างหนัก และพระองค์ทรงอธิษฐาน สุดท้ายการอธิษฐานของพระองค์ทำให้พระองค์ตัดสินใจรับน้ำพระทัยพระเจ้า และทรงมีท่าทีสงบอย่างเห็นได้ชัดตลอดการทนทุกข์ทรมานจนถึงทรงสิ้นพระชนม์บนกางเขน

มัทธิว 26:42  พระองค์จึงเสด็จไปทรงอธิษฐานอีกเป็นครั้งที่สอง “ข้าแต่พระบิดาของข้าพระองค์ ถ้าถ้วยนี้เลื่อนพ้นไปจากข้าพระองค์ไม่ได้ และข้าพระองค์จำต้องดื่มแล้ว ก็ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์”

แผนการพระเจ้าและน้ำพระทัยพระเจ้า เป็นเรื่องลึกซึ้งสำหรับเรา พระเจ้าทรงทราบว่าอะไรเหมาะสมที่สุดสำหรับเราทั้งเรื่องอะไรและเวลาไหนที่เหมาะสมที่สุด การอธิษฐานทำให้เกิดการสงบลงต่อพระประสงค์พระเจ้า และไว้วางใจในพระเจ้าในหลายสิ่งที่เราไม่เข้าใจเหล่านั้นด้วย

4.ทำให้เรามีความยินดีเต็มเปี่ยมเมื่อเราอธิษฐานตามน้ำพระทัยพระเจ้า

แม้พระเจ้าทรงทราบดีว่าเราต้องการสิ่งใด กระนั้นทรงปรารถนาให้เราทูลขอต่อพระองค์ เพื่อความชื่นชมยินดีของเราจะเต็มเปี่ยม

ยอห์น 16:24  จนบัดนี้พวกท่านก็ยังไม่ได้ขอสิ่งใดในนามของเรา จงขอเถิดแล้วจะได้ เพื่อความชื่นชมยินดีของท่านจะมีเต็มเปี่ยม

ทั้งหมดนี้จะช่วยให้เกิดการพัฒนาความสัมพันธ์กับพระเจ้าในมิติที่เติบโตขึ้นในการเป็นคริสเตียน ไม่ใช่มองเพียงแค่ขอและได้หรือไม่ได้รับเท่านั้น แต่เป็นการปรับความคิดและนำชีวิตของเราเข้าไปสู่แผนการพระประสงค์ของพระเจ้า เพื่อชีวิตเราจะดำเนินไปกับพระองค์อย่างเข้าใจและติดสนิทกับพระองค์

การอธิษฐานในชีวิตประจำวัน

1.อธิษฐานสรรเสริญพระเจ้า

เป็นอธิษฐานที่บรรยายถึงความดีงามของพระเจ้าในความรู้สึกของเรา

สดุดี 106:1 สรรเสริญพระยาห์เวห์ จงขอบพระคุณพระยาห์เวห์ เพราะพระองค์ประเสริฐ เพราะความรักมั่นคงของพระองค์ดำรงเป็นนิตย์

2.อธิษฐานขอบพระคุณ

เอเฟซัส 5:20  จงขอบพระคุณพระเจ้าคือพระบิดาอยู่เสมอสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง ในพระนามของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา

ขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับสิ่งที่พระเจ้าประทานในชีวิตในเรื่องต่างๆ เราสามารถขอบคุณพระเจ้าได้เสมอ ในทุกกรณีของชีวิต ทั้งเรื่องที่ดีและบทเรียนจากสถานการณ์บางอย่างที่พระเจ้าให้มาเพื่อพัฒนาชีวิตเรา

3.อธิษฐานสารภาพบาป

1 ยอห์น 1:9  ถ้าเราสารภาพบาปของเรา พระองค์ทรงซื่อสัตย์และเที่ยงธรรม ก็จะทรงโปรดยกบาปของเรา และจะทรงชำระเราให้พ้นจากการอธรรมทั้งสิ้น

เป็นโอกาสที่ดีที่เราจะเข้ามาสารภาพบาปที่เราอาจจะทำผิดไปในแต่ละวัน เป็นคำอธิษฐานที่ทรงพลังและพัฒนาชีวิตความจริงใจของเราต่อพระองค์ได้อย่างที่สุด

4.อธิษฐานเผื่อพี่น้อง

2 เธสะโลนิกา 1:11   เพราะ​เหตุ​นี้ เรา​จึง​อธิษ​ฐาน​เพื่อ​พวก​ท่าน​เสมอ ขอ​พระ​เจ้า​ของ​เรา​ทรง​ให้​ท่าน​เป็น​ผู้​ที่​สม​ควร​แก่​การ​ทรง​เรียก​นั้น และ​ขอ​พระ​องค์​ทรง​ให้​ความ​ตั้ง​ใจ​ดี​ทุก​ประ​การ และ​กิจ​การ​แห่ง​ความ​เชื่อ​ทุก​อย่าง​สำ​เร็จ​ด้วย​ฤทธิ์​เดช​ของ​พระ​องค์

เราอาจใช้เวลาอธิษฐานเผื่อพี่เลี้ยงของเรา, กลุ่มแคร์, คริสตจักรของเรา, หรืองานรับใช้พระเจ้าในคริสตจักร เป็นต้น

5.อธิษฐานขอในสิ่งที่เราต้องการ

ฟีลิปปี 4:6 อย่ากระวนกระวายในสิ่งใดๆ เลย แต่จงทูลพระเจ้าให้ทรงทราบทุกสิ่งที่พวกท่านขอ โดยการอธิษฐานและการวิงวอน พร้อมกับการขอบพระคุณ

เป็นสิ่งที่ดีหากเราได้คำตอบจากคำอธิษฐานในเรื่องส่วนตัว ทำให้เรามั่นใจในประสบการณ์ดีๆ กับพระเจ้า อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นต้องฝากความหวังใจไว้ในพระเจ้า ไม่บังคับพระองค์ให้ตอบเรา แต่ไว้วางใจในพระองค์ พระเจ้าอาจจะตอบ หรือให้เรารอ หรือไม่ตอบก็ได้ เพราะพระองค์ทรงทราบสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเราเสมอ และสิ่งที่เป็นบาป

6.ให้เราฟังพระสุรเสียงของพระเจ้า

ให้เราฟังพระเจ้าด้วยเมื่อเราอธิษฐานกับพระเจ้าซึ่งเป็นการสนทนาร่วมกัน และพระเจ้าปรารถนจะพูดกับเรา ดังนั้นเมื่อเราอธิษฐานให้เราพักสงบฟังเสียงของพระเจ้า

การอธิษฐานในภาคปฏิบัติ

  1. คำที่แทนตัวเราและพระเจ้า – ขอให้เป็นคำของเราเองที่มาจากใจของเรา เช่น แทนตัวเราว่า ฉัน, ผม, ดิฉัน, หนู, เป็นต้น แทนพระเจ้าว่า พระเจ้า, พระบิดา, พระเยซู, พระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นต้น
  2. ควรขึ้นต้นคำอธิษฐานว่าอย่างไร – คำอธิษฐานของพระเยซู พระองค์ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ข้าแต่พระบิดาของ​ข้า​พระ​องค์​ทั้ง​หลาย ผู้​สถิต​ใน​สวรรค์”

มัทธิว 6:9-13  เพราะ​ฉะนั้น​พวก​ท่าน​จง​อธิษ​ฐาน​เช่น​นี้​ว่า ‘ข้า​แต่​พระ​บิดา​ของ​ข้า​พระ​องค์​ทั้ง​หลาย ผู้​สถิต​ใน​สวรรค์ ขอ​ให้​พระ​นาม​ของ​พระ​องค์​เป็น​ที่​เคา​รพ​สัก​การะ ​​ขอ​ให้​แผ่น​ดิน​ของ​พระ​องค์​มา​ตั้ง​อยู่ ขอ​ให้​เป็น​ไป​ตาม​พระ​ทัย​ของ​พระ​องค์ ใน​สวรรค์​เป็น​อย่างไร​ก็​ให้​เป็น​ไป​อย่าง​นั้น​ใน​แผ่น​ดิน​โลก ​​ขอ​ประ​ทาน​อาหาร​ประ​จำ​วัน​แก่​พวก​ข้า​พระ​องค์​ใน​วัน​นี้ ​​และ​ขอ​ทรง​ยก​บาป​ผิดของ​พวก​ข้า​พระ​องค์ เหมือน​พวก​ข้า​พระ​องค์​ยก​โทษ​บรร​ดา​คน​ที่​ทำ​ผิด​ต่อ​ข้า​พระ​องค์ ​​และ​ขอ​อย่า​ทรง​นำ​พวก​ข้า​พระ​องค์​เข้า​ไป​ใน​การ​ทด​ลอง แต่​ขอ​ให้​พวก​ข้า​พระ​องค์​พ้น​จาก​ความ​ชั่ว​ร้าย

  1. เนื้อหาคำอธิษฐาน – ให้เป็นคำของเราเองที่ออกมาจากใจ
  2. คำลงท้าย – “ในพระนามพระเยซูคริสต์ อาเมน” เราขอในนามพระเยซู และ อาเมนหมายถึงขอให้เป็นไปตามนั้น

คำถามที่มักพบและข้อแนะนำในภาคปฏิบัติ

  1. อธิษฐานหลับตาหรือเปิดตา – ได้ทั้งนั้น ขอให้เรามีใจจดจ่อกับพระเจ้า ปกติปิดตาก็มีความจดจ่อได้ดีกว่า
  2. อธิษฐานออกเสียงหรือไม่ออกเสียง – ได้ทั้งนั้น แต่โดยปกติคริสตจักรเราจะอธิษฐานออกเสียง แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือความตั้งใจจดจ่อของเราในการอธิษฐาน
  3. อธิษฐานเวลาใด – ได้ทุกเวลา พระเจ้าฟังคำอธิษฐานของผู้ชอบธรรมเสมอ
  4. เวลาอธิษฐานต้องมีท่าทางอย่างไร

ในพระคัมภีร์มีการออกเสียง มีการคุกเข่า การหมอบกราบ มีการชูมือ มีทั้งเงียบๆ มีทั้งการยืน การนั่ง การวางมืออธิษฐานเผื่อผู้อื่น ฉะนั้นการแสดงออกของเราในการอธิษฐานสามารถทำได้อย่างเหมาะสมตามพระคัมภีร์ แต่ให้ออกมาจากใจของเราอย่างแท้จริงไม่ใช่การพยายามเลียนแบบอาการของคนในพระคัมภีร์

  1. อธิษฐานในชีวิตประจำวัน

ปกติคริสเตียนจะขอบคุณพระเจ้าสำหรับอาหารที่พระเจ้าประทานเพื่อเป็นการระลึกถึงความรักเมตตาและการเลี้ยงดูของพระเจ้าในชีวิต ฉะนั้นแนะนำให้อธิษฐานก่อนทานอาหารทุกมื้อเพื่อเป็นการขอบคุณพระเจ้า และเราควรอธิษฐานก่อนนอนขอบคุณพระเจ้าสำหรับตลอดทั้งวันที่พระองค์ทรงดูแลชีวิตเราเสมอ เป็นต้น

การอธิษฐานเป็นทั้งชีวิตประจำวันและโอกาสพิเศษ
เราอาจจะมีบางเรื่องที่หนักใจอยากทูลต่อพระเจ้าเป็นพิเศษ
หรือเราอาจไม่มีอะไรเป็นพิเศษแต่อธิษฐานเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์สนิทกับพระองค์
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งดีมากสำหรับการพัฒนาชีวิตคริสเตียน

 

ผู้เขียน: อจ. ดร.กนก ลีฬหเกรียงไกร

 

อ้างอิง

  • นที ตันจันทร์พงศ์. ศาสนศาสตร์ 1. กรุงเทพฯ: พระคริสตธรรมกรุงเทพ, 2015.
  • มุมสงบ. กรุงเทพฯ: กนกบรรณาสาร,
  • เฮ็นรี่ แคลเรนซ์ ทีเซ่น. ศาสนศาสตร์ระบบ. กรุงเทพฯ: กนกบรรณาสาร, 1995.
  • บิล ไฮเบลส์. ไม่ยุ่งเกินอธิษฐาน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ทีรันนัส (สำนักพิมพ์ จีพี), 2006.
  • อี. เอ็ม. บาวนด์. พลังผ่านการอธิษฐาน. กรุงเทพฯ ศูนย์ทีรันนัส (สำนักพิมพ์ จีพี), 2010.
  • Erickson, Millard J. Christian Theology. Grand Rapids: Baker, 2004.

บทที่ 7 : การนมัสการ

บทเรียนซีรีส์พื้นฐานชีวิตคริสเตียน บทที่ 7 : การนมัสการ

การนมัสการ

การนมัสการแท้จริงเป็นวิถีชีวิตที่ยกย่องพระเจ้าและยอมจำนนต่อพระเจ้าด้วยความยินดี

โคโลสี 3:16-17 16จงให้พระวจนะของพระคริสต์อยู่ในพวกท่านอย่างบริบูรณ์ จงสั่งสอนและเตือนสติกันด้วยปัญญาทั้งสิ้น จงร้องเพลงสดุดี เพลงนมัสการ และเพลงฝ่ายจิตวิญญาณด้วยการขอบพระคุณพระเจ้าในใจของท่าน 17และเมื่อท่านทั้งหลายทำสิ่งใดไม่ว่าจะด้วยวาจาหรือด้วยการประพฤติ จงทำทุกสิ่งในพระนามของพระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้า และขอบพระคุณพระเจ้าพระบิดา โดยทางพระองค์

การนมัสการเป็นทั้งการร้องเพลงและเป็นทั้งวิถีชีวิตที่นบนอบต่อพระเจ้า หากทั้งชีวิตเรานมัสการพระเจ้า ยอมให้พระเจ้าเป็นเจ้านายในชีวิต ทุกๆ สิ่งในชีวิตเราย่อมเป็นที่พอพระทัยพระเจ้ารวมทั้งการร้องเพลงนมัสการด้วย

บทเรียนครั้งนี้จะพูดถึงการนมัสการที่เป็นทั้ง “การร้องเพลง” และเป็น “การแสดงออกของชีวิตที่ยกย่องพระเจ้า” ไปด้วยกัน

การนมัสการด้วยชีวิตเป็นอย่างไร

1. นบนอบต่อพระเจ้า

โมเสสแสดงออกถึงท่าทีนบนอบต่อพระเจ้าอย่างถึงที่สุดในใจ จึงกราบลงถึงดินนมัสการ

อพยพ 34:8 โมเสสจึงรีบกราบลงถึงดินนมัสการ

2. เชื่อฟังพระดำรัสของพระเจ้าในวิถีชีวิต

โคโลสี 3:16 จงให้พระวจนะของพระคริสต์อยู่ในพวกท่านอย่างบริบูรณ์ จงสั่งสอนและเตือนสติกันด้วยปัญญาทั้งสิ้น จงร้องเพลงสดุดี เพลงนมัสการ และเพลงฝ่ายจิตวิญญาณด้วยการขอบพระคุณพระเจ้าในใจของท่าน

3. รับใช้พระเจ้า

คนที่รักพระเจ้า มีชีวิตที่นบนอบ เชื่อฟังพระเจ้า เขาจะปรารถนารับใช้พระเจ้าอย่างเป็นธรรมชาติ

อพยพ 3:12พระองค์ตรัสว่า “เราจะอยู่กับเจ้าแน่ นี่เป็นหมายสำคัญให้เจ้ารู้ว่าเราใช้เจ้าไป คือเมื่อเจ้านำประชากรออกจากอียิปต์แล้ว เจ้าทั้งหลายจะมานมัสการพระเจ้าบนภูเขานี้”

นิยามของการนมัสการด้วยชีวิต ทำให้การนมัสการไม่จำกัดเฉพาะการร้องเพลงในวันอาทิตย์หรือวันใดใด แต่คือวิถีชีวิตทั้งหมดของคริสเตียนที่นบนอบยอมจำนนต่อพระเจ้า และแสดงออกมาในทุกๆ ทางนั่นเอง

การนมัสการพระเจ้าด้วยเสียงเพลงเป็นอย่างไร

หากท่าทีในใจของเรานบนอบต่อพระเจ้า การแสดงออกทั้งชีวิตก็เพื่อยกย่องพระเจ้า
การร้องเพลงนมัสการในคริสตจักร
จะช่วยให้เราเกิดประสบการณ์ดื่มด่ำในจิตวิญญาณได้อย่างแน่นอน

เมื่อหัวใจของเราจดจ่ออยู่กับพระเจ้า ตัวช่วยที่ดีเยี่ยมคือบทเพลง, ดนตรี, บรรยากาศการนมัสการที่ส่งเสริมความหมายของบทเพลง, การแสดงออกภายนอกต่างๆ ที่พอดีๆ เป็นธรรมชาติ โดยนิยามนี้ทำให้เราสามารถมีอิสระที่จะสร้างสรรค์การนมัสการได้อย่างร่วมสมัยไม่ติดอยู่กับรูปแบบของวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง

การแสดงออกของการนมัสการซึ่งคริสตจักรส่วนใหญ่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบันได้ประยุกต์จากรูปแบบที่ถูกเขียนไว้ในพระคัมภีร์โดยเฉพาะพระธรรมสดุดี ซึ่งได้แก่

1. การร้องเพลง

อพยพ 15:1 ขณะนั้นโมเสสกับชนชาติอิสราเอลร้องเพลงบทนี้ถวายพระยาห์เวห์ว่า “ข้าพระองค์จะร้องเพลงถวายพระยาห์เวห์ เพราะพระองค์ทรงได้ชัยชนะอย่างใหญ่หลวง พระองค์ทรงกวาดม้าและพลม้าลงในทะเล

สดุดี 66:4 แผ่นดินโลกทั้งสิ้นจะนมัสการพระองค์ เขาทั้งหลายจะร้องเพลงสดุดีพระองค์ ร้องเพลงสดุดีพระนามของพระองค์

2. การยืนให้เกียรติพระเจ้า

สดุดี 135:1-2  สรรเสริญพระยาห์เวห์ จงสรรเสริญพระนามของพระยาห์เวห์ บรรดาผู้รับใช้ของพระยาห์เวห์เอ๋ย จงสรรเสริญเถิด บรรดาผู้ที่ยืนอยู่ในพระนิเวศของพระยาห์เวห์ ในบริเวณพระนิเวศของพระเจ้าของเรา

3. การแสดงออกในความยินดีด้วยรูปแบบต่างๆ

อาจเป็นการเต้นรำ ยิ้ม หัวเราะ ปรบมือ ชูมือ โบกมือ โห่ร้อง คุกเข่า ฯลฯ

สดุดี 47:1 ชนชาติทั้งหลายเอ๋ย จงตบมือ จงโห่ร้องถวายแด่พระเจ้าด้วยเสียงยินดี

สดุดี 81:1 จงร้องเพลงด้วยความยินดีถวายแด่พระเจ้า พระกำลังของพวกเรา จงโห่ร้องด้วยความชื่นบานถวายแด่พระเจ้าของยาโคบ

4. การนมัสการด้วยความสงบ

สดุดี 131:2 แต่ข้าพระองค์ได้สงบและระงับจิตใจของข้าพระองค์ อย่างเด็กที่หย่านมแล้วสงบอยู่ที่อกมารดาของตน จิตใจของข้าพระองค์สงบอยู่ภายในข้าพระองค์ อย่างเด็กที่หย่านมแล้ว

การนมัสการที่แท้จริงจะต้องรู้สึกสัมผัสบรรยากาศแห่งการทรงสถิตของพระเจ้าด้วย เหมือนได้ยืนอยู่ต่อพระพักตร์พระเจ้าจริงๆ เพราะพระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าที่ทรงพระชนม์ พระเจ้าทรงแสวงหาผู้ที่นมัสการพระเจ้าอย่างแท้จริง และเมื่อเรานมัสการพระเจ้าด้วยหัวใจ เราก็จะแสดงออกภายนอกอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นท่าทางของเรา ความรู้สึกบนใบหน้าของเรา น้ำเสียงของเราในการร้องเพลงนมัสการ การแสดงออกต่างๆ ตามพระคัมภีร์ก็จะออกมาอย่างสอดคล้องกับข้างในจิตใจ นั่นเป็นการนมัสการที่พระเจ้าทรงปรารถนา

ข้อแนะนำในภาคปฏิบัติเพื่อพัฒนาการนมัสการในคริสตจักรให้ดียิ่งขึ้น

1. หมั่นฝึกฝนร้องเพลงนมัสการ

ปัจจุบันเรามีสื่อมากมายที่สามารถช่วยให้เราฝึกร้องเพลงนมัสการได้ โดยเฉพาะใน YouTube มีเพลงนมัสการมากมายที่คริสตจักรใช้อยู่เป็นประจำ เพียงแต่เราจำชื่อเพลง แล้วไป search หาใน YouTube จะพบเพลงที่เราต้องการ หากเราเปิดฟัง ฝึกร้องตามเป็นประจำก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการนมัสการในชีวิตส่วนตัว กลุ่มสร้างชีวิต และคริสตจักร

2. เริ่มนมัสการในชีวิตส่วนตัว และในครอบครัว

ให้การนมัสการเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในการเข้าเฝ้าพระเจ้าแต่ละวันของท่าน หากการนมัสการในชีวิตส่วนตัวดี การนมัสการในระดับชุมชนจะยิ่งดียิ่งขึ้นเพราะท่านได้คุ้นเคยกับการจดจ่อกับพระเจ้าในทุกๆ วันอยู่แล้ว

3. เห็นคุณค่าการนมัสการในกลุ่มแคร์และคริสตจักร

พยายามอย่างเต็มที่ในการมาแคร์และคริสตจักรให้ทันช่วงนมัสการ ไม่มองการนมัสการเป็นเรื่องเสียเวลา ให้มองเป็นโอกาสพิเศษที่เราจะเข้ามาใกล้พระเจ้า พัฒนาความสัมพันธ์สนิทกับพระเจ้า

4. กล้าแสดงออกจากใจ

คนไทยมักชอบเก็บความรู้สึก การนมัสการแบบเงียบๆ อาจสัมผัสพระเจ้าในมิติเดียว แต่การแสดงออกจากใจโดยไม่กังวลว่าคนอื่นจะมองเราอย่างไร จะช่วยเราให้เข้าไปสู่มิติของการติดสนิทกับพระเจ้าได้อย่างลึกซึ้งขึ้น ฉะนั้นหากเราเริ่มตอบสนองพระเจ้าอย่างเป็นธรรมชาติด้วยการชูมือ, คุกเข่า, โยกตัว, กระโดดโลดเต้นไปกับการนมัสการ หรืออื่นๆ ที่มาจากใจที่แท้จริง เราอาจกำลังก้าวสู่มิติใหม่ๆ ในการนมัสการที่มีความลึกซึ้งมากขึ้นก็เป็นไป

หากท่าทีในใจของเรานบนอบต่อพระเจ้า การแสดงออกทั้งชีวิตก็เพื่อยกย่องพระเจ้า
การร้องเพลงนมัสการในคริสตจักร
จะช่วยให้เราเกิดประสบการณ์ดื่มด่ำในจิตวิญญาณได้อย่างแน่นอน

 

ผู้เขียน: อจ. ดร.กนก ลีฬหเกรียงไกร

 

อ้างอิง

  • แก่นแท้ของการนมัสการตามหลักการพระคัมภีร์. กรุงเทพฯ : คริสตจักรกิจการของพระคริสต์.กันยายน 2016.
  • ฝ่ายวิชาการ. สัมมนาหัวหน้าแคร์-การนำนมัสการ. กรุงเทพฯ: คริสตจักรกิจการของพระคริสต์. มิถุนายน
  • เกรแฮม สีด. พระเจ้าทรงครอบครองอยู่. กรุงเทพฯ: กนกบรรณสาร, 1991.
  • A History of Christian Worship: Ancient Ways, Future Paths. Worship Leader Magazine’s 2012 Editor’s Pick.

บทที่ 8 : พิธีมหาสนิท

บทเรียนซีรีส์พื้นฐานชีวิตคริสเตียน บทที่ 8 : พิธีมหาสนิท

พิธีมหาสนิท

พิธีมหาสนิท เป็นพิธีที่คริสเตียนกระทำเพื่อระลึกถึงพระคุณความรักของพระเยซูคริสต์ที่ทรงสละพระชนม์ชีพเพื่อเราโดยการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน และเป็นการเตือนให้ระลึกถึงและตระหนักว่าพระเยซูได้ทำพันธสัญญากับผู้เชื่อวางใจในพระองค์

พระเยซูทรงใช้ขนมปังและน้ำองุ่นในพิธีปัสการของยิวที่เล็งให้เห็นการไถ่โดยพระคุณของพระเจ้า พระเจ้าช่วยคนอิสราเอลออกมาจากการเป็นทาสในอียิปต์ เพื่อนำเขามาเป็นชนชาติของพระเจ้า คนยิวในสมัยพระเยซูทำพิธีนี้ทุกปีเพื่อเตือนให้ไม่ลืมพระคุณของพระเจ้า พระเยซูทรงใช้พิธีนี้เพื่อให้สาวกเข้าใจว่าพระองค์คือพระผู้ไถ่ที่แท้จริงโดยการสิ้นพระชนม์เพื่อรับโทษแทน และทุกคนที่เชื่อวางใจในพระเยซูเป็นพระผู้ไถ่ของเขาจะได้รับชีวิตนิรันดร์เมื่อพระองค์เสด็จกลับมา

มัทธิว 26:26-29  26ระหว่างรับประทานอยู่นั้น พระเยซูทรงหยิบขนมปังขึ้นมา และเมื่อขอพระพรแล้ว ก็ทรงหักส่งให้บรรดาสาวกตรัสว่า “จงรับไปกินเถิด นี่เป็นกายของเรา” 27แล้วพระองค์ทรงหยิบถ้วย เมื่อขอบพระคุณแล้ว ก็ทรงส่งให้พวกเขาตรัสว่า “จงรับไปดื่มทุกคนเถิด 28เพราะว่านี่เป็นโลหิตของเราอันเป็นโลหิตแห่งพันธสัญญาที่หลั่งออกเพื่อยกบาปโทษคนจำนวนมาก 29เราบอกท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่ดื่มจากผลของเถาองุ่นนี้อีกต่อไปจนกว่าจะถึงวันนั้น ที่เราจะดื่มกับพวกท่านอีกในแผ่นดินแห่งพระบิดาของเรา”

พิธีมหาสนิทมีความสำคัญอย่างไร

1.เป็นอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซูกับเหล่าสาวก

ลูกา 22:16 เราบอกท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่รับประทานปัสกานี้อีกจนกว่าจะสำเร็จความหมายของปัสกานั้นในแผ่นดินของพระเจ้า

หลังจากพิธีมหาสนิท คืนนั้นพระเยซูทรงอธิษฐานที่สวนเกทเสมนี ทรงถูกจับเวลาเช้ามืด หลังจากนั้นทรงถูกตัดสินประหารชีวิตโดยตรึงไว้ที่กางเขน สิ่งที่นักการศาสนาและมารซาตานเข้าใจว่าได้เอาชนะพระเยซูคริสต์ไปแล้วนั้น กลับกลายเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าในการไถ่บาปเรา

พระเยซูมุ่งไปสู่กางเขนจนสำเร็จ สิ่งที่พระองค์กระทำ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเวลานั้น เป็นสิ่งที่มีความหมายและน่าจดจำเป็นอย่างยิ่ง

2. เป็นการประกาศว่าพระเยซูได้มาไถ่บาปโดยการสิ้นพระชนม์เพื่อเราจะได้ชีวิต

มัทธิว 26:26-28  26ระหว่างรับประทานอยู่นั้น พระเยซูทรงหยิบขนมปังขึ้นมา และเมื่อขอพระพรแล้ว ก็ทรงหักส่งให้บรรดาสาวกตรัสว่า “จงรับไปกินเถิด นี่เป็นกายของเรา” 27แล้วพระองค์ทรงหยิบถ้วย เมื่อขอบพระคุณแล้ว ก็ทรงส่งให้พวกเขาตรัสว่า “จงรับไปดื่มทุกคนเถิด  28เพราะว่านี่เป็นโลหิตของเราอันเป็นโลหิตแห่งพันธสัญญาที่หลั่งออกเพื่อยกบาปโทษคนจำนวนมาก

ผู้ที่เชื่อวางใจในพระองค์ได้เข้าในพันธสัญญาของพระเยซูที่จะได้รับชีวิตใหม่ในพระเยซู (ยน 6:53-58)

3. เป็นช่วงเวลาแห่งความหวังใจในวาระสุดท้าย

เป็นความหวังใจว่าพระเยซูจะกลับมาแน่นอน

1 โครินธ์ 11:26 เพราะว่าเมื่อใดที่พวกท่านกินขนมปังและดื่มจากถ้วยนี้ ท่านก็ประกาศการวายพระชนม์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า จนกว่าพระองค์จะเสด็จมา

ลูกา 22:29-30  พระบิดาทรงจัดเตรียมและทรงมอบอาณาจักรให้แก่เราอย่างไร เราก็จัดเตรียมและมอบให้แก่ท่านเหมือนกัน เพื่อที่ท่านทั้งหลายจะได้กินและดื่มที่โต๊ะของเราในอาณาจักรของเรา และท่านจะได้นั่งบนบัลลังก์พิพากษาอิสราเอลสิบสองเผ่า

พระเยซูกำลังจะจากไป ทรงประทานความหวังใจแก่สาวกว่าวันข้างหน้าพระองค์จะทรงกินและดื่มแบบนี้ไม่ใช่บนโลก แต่ในอาณาจักรของพระเจ้าในวันสุดท้ายคือวันแห่งการพิพากษา สิ่งนี้เป็นความหวังใจของเราเช่นเดียวกัน

4. คริสเตียนควรร่วมพิธีนี้ด้วยการระลึกถึงข่าวประเสริฐนี้ด้วยท่าทีขอบพระคุณและยำเกรงพระเจ้า

1 โครินธ์ 11:27-32 27ฉะนั้นถ้าใครกินขนมปัง หรือดื่มจากถ้วยขององค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างไม่เหมาะสม เขาก็ทำผิดต่อพระกายและพระโลหิตขององค์พระผู้เป็นเจ้า 28ทุกคนจงสำรวจตัวเอง แล้วจึงกินขนมปังและดื่มจากถ้วยนี้ 29เพราะว่าคนที่กินและดื่มโดยไม่ได้ตระหนักถึงพระกายขององค์พระผู้เป็นเจ้า ก็กินและดื่มเป็นเหตุให้ตนเองถูกลงโทษ 30เพราะเหตุนี้พวกท่านหลายคนจึงอ่อนแอและเจ็บป่วย และบ้างก็ล่วงหลับไป 31แต่ถ้าเราวินิจฉัยตัวเอง เราคงไม่ต้องถูกพิพากษา 32เมื่อองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงพิพากษาเรานั้น พระองค์ทรงตีสอนเรา เพื่อไม่ให้เราถูกพิพากษาด้วยกันกับโลก

ในคริสตจักรยุคแรกเรียกพิธีนี้ว่า Eucharist (eucharistesas แปลว่า give thanks การขอบพระคุณพระเจ้า) และการตั้งใจที่จะรักษาชีวิตในความชอบธรรม บริสุทธิ์ต่อพระเจ้า รอคอยวันพระเยซูกลับมา

เกิดอะไรขึ้นในระหว่างอาหารมื้อสุดท้าย

1. พระเยซูทรงล้างเท้าสาวก

เวลานั้นสาวกของพระเยซูถกเถียงกันว่าใครจะเป็นใหญ่กว่าใคร เวลานั้นพระเยซูทรงให้หลักการที่สำคัญมากคือหากผู้ใดจะเป็นใหญ่ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้รับใช้ปรนนิบัติคนทั้งปวง ไม่ใช่เป็นผู้ที่รับการปรนนิบัติ

ลูกา 22:26   แต่พวกท่านจะไม่เป็นอย่างนั้น ในพวกท่านคนที่เป็นใหญ่ต้องเป็นเหมือนเด็ก และคนที่เป็นนายต้องเป็นเหมือนผู้ปรนนิบัติ

ทรงทำสิ่งที่ทำให้เหล่าสาวกประหลาดใจมากในระหว่างอาหารมื้อสุดท้าย เป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่งที่อาจารย์จะกระทำ คือการล้างเท้าสาวกทีละคนรวมถึงยูดาสผู้ที่จะทรยศพระเยซูด้วย

ยอห์น 13:4-5  พระองค์ทรงลุกจากการเสวยอาหาร ทรงถอดฉลองพระองค์ออกวางไว้ และทรงเอาผ้าเช็ดตัวคาดเอวของพระองค์ แล้วทรงเทน้ำลงในอ่างและทรงเอาน้ำล้างเท้าของพวกสาวก และทรงเช็ดด้วยผ้าที่ทรงคาดเอวไว้นั้น

พระเยซูทรงตั้งใจวางแบบอย่างที่สำคัญมากในการรับใช้ คือให้เรารับใช้กันและกันด้วยความถ่อมใจ ยินดีทำในสิ่งที่ต่ำต้อยไร้เกียรติ ถ่อมใจต่อกันและกันด้วยใจและการกระทำ

ยอห์น 13:14 เพราะฉะนั้นถ้าเราผู้เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระอาจารย์ยังล้างเท้าของพวกท่าน ท่านก็ควรจะล้างเท้าของกันและกันด้วย

ในตอนนี้จึงให้ข้อคิดที่สำคัญมากแก่เราคือ พระเยซูทรงรักเราจนถึงที่สุด แม้เราจะไม่สมบูรณ์ หรือจิตใจของเราได้ออกห่างไปจากพระองค์แล้วแบบยูดาสก็ตาม[1] ทรงแสดงความถ่อมพระทัย ทรงวางแบบอย่างแก่เราในการปรนนิบัติกันและกัน

2. ทรงประทานบัญญัติใหม่ให้เรารักซึ่งกันและกัน

ยอห์น 13:34-35 เราให้บัญญัติใหม่ไว้กับพวกท่าน คือให้รักซึ่งกันและกัน เรารักพวกท่านมาแล้วอย่างไร ท่านก็จงรักกันและกันด้วยอย่างนั้น ถ้าท่านรักกันและกัน ดังนี้แหละทุกคนก็จะรู้ว่าท่านเป็นสาวกของเรา”

ส่วนสำคัญของพันธสัญญาใหม่คือบัญญัติใหม่เมื่อพระเยซูทรงเป็นแบบอย่างของความรักแล้ว เราควรรักกันและกันมากยิ่งกว่ารักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเองแต่รักกันและกันเหมือนพระเยซูทรงรักเรา (1 ยอห์น 3:16)

ดังนั้นเมื่อเราเข้ามาสู่พิธีนี้ ให้เรากลับมาระลึกถึงแบบอย่างความรักของพระเยซูทรงทรงมีต่อเรา ให้เราตัดสินใจให้อภัยความผิดของพี่น้องและกลับมารักซึ่งกันและกันอย่างแท้จริงเสมอไป

พิธีมหาสนิทในภาคปฎิบัติ

ขั้นตอนพิธีมหาสนิทโดยทั่วไปจะเป็นดังนี้

  1. อธิษฐานให้ที่ประชุมอยู่ในความสงบและระลึกถึงความหมายของพิธีมหาสนิท
  2. ขอให้ผู้ที่ยังไม่รู้จักพระเจ้าอยู่ในความสงบโดยไม่ต้องรับพิธีนี้จนกว่าจะเชื่อวางใจในการไถ่ของพระเยซู
  3. หนุนใจให้ตระหนักในการให้อภัยบาปของพระเยซูคริสต์ ตระหนักในความรักของพระเยซูที่ยินดีรับโทษบาปของเราเพื่อเราจะยินดีให้อภัยผู้อื่น และกลับมาคืนดีกับพระเจ้าและพี่น้อง
  4. รับประทานขนมปังและน้ำองุ่นตามลำดับในที่ประชุมด้วยใจขอบพระคุณพระเจ้า

 

ผู้เขียน: อจ. ดร.กนก ลีฬหเกรียงไกร

 

ข้อมูลอ้างอิง

Matthew L. Skinner. Maundy Thursday: What Happened At The Last Supper?. Luther Seminary in Saint Paul. 2017.

Jonathan Klawans. Was Jesus’ Last Supper a Seder?. Biblical Archaeology Daily Magazine. Dec 2017.

All about Jesus Christ.org. The Last Supper: The Significance. [Also Available online] http://www.allaboutjesuschrist.org/the-last-supper.htm. June 2017.

[1] แม้กระนั้นก็ตามการแสดงออกถึงความถ่อมพระทัยของพระเยซูก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจยูดาสได้

บทที่ 9 : การถวายจากใจ

บทเรียนซีรีส์พื้นฐานชีวิตคริสเตียน บทที่ 9 : การถวายจากใจ

การถวายจากใจ

มาระโก 12:41-44  41พระเยซูประทับตรงหน้าตู้เก็บเงินถวาย ทรงสังเกตฝูงชนเอาเงินมาใส่ไว้ในตู้นั้น และมีคนมั่งมีหลายคนเอาเงินมากมายมาใส่ 42แต่มีหญิงม่ายยากจนคนหนึ่งเดินมา นางเอาเหรียญทองแดงสองอัน มีค่าประมาณโคดรันเทสหนึ่งมาใส่ไว้ 43พระองค์จึงทรงเรียกพวกสาวกมาตรัสกับพวกเขาว่า “เราบอกความจริงกับท่านทั้งหลายว่า หญิงม่ายยากจนคนนี้ใส่ในตู้เก็บเงินถวายมากกว่าทุกคนที่ใส่ไว้นั้น 44เพราะว่าทุกคนได้เอาเงินเหลือใช้ของพวกเขามาใส่ แต่หญิงคนนี้ในสภาพที่ยากจน เอาเงินเลี้ยงชีพทั้งสิ้นของนางใส่ลงไปจนหมด”

พระเยซูทรงใช้ตัวอย่างการถวายของหญิงม่ายยากจนและคนมั่งมี เพื่อเป็นตัวอย่างในการสอนสาวกเรื่องการถวาย พระเจ้าไม่ได้สนใจเรื่องของจำนวนเงินมากกว่าหัวใจที่มอบถวาย ความมากหรือน้อยจึงไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินแต่ขึ้นอยู่กับท่าทีภายในซึ่งเป็นสิ่งที่พระเยซูทรงสนใจมากกว่า

มัทธิว 6:21 เพราะว่าทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ไหน ใจของท่านก็อยู่ที่นั่นด้วย

การถวายเป็นน้ำพระทัยของพระเจ้า
ที่พระองค์ปรารถนาให้เราสำแดงออกถึงความรักในพระองค์

แท้จริงแล้วทรัพย์สินทุกสิ่งในโลกนี้ ล้วนแต่เป็นของพระเจ้าทั้งสิ้น พระเจ้าไม่ได้ต้องการเงินของเรามากกว่าหัวใจของเราที่มีต่อพระองค์

ฮักกัย 2:8 เงินเป็นของเรา และทองก็เป็นของเรา พระยาห์เวห์จอมทัพตรัสดังนี้แหละ

หลักการถวายในพระคัมภีร์

1. ตระหนักว่าพระเจ้าเป็นเจ้าของทุกอย่าง

1 พงศาวดาร 29:12 ทั้ง​ความ​มั่ง​คั่ง​และ​เกียรติ​มา​จาก​พระ​องค์ และ​พระ​องค์​ทรง​ครอบ​ครอง​อยู่​เหนือ​ทุก​สิ่ง ฤทธิ์​อำ​นาจ​และ​ฤทธา​นุภาพ​อยู่​ใน​พระ​หัตถ์​ของ​พระ​องค์ และ​อยู่​ที่​พระ​หัตถ์​ของ​พระ​องค์​ที่​จะ​ทรง​กระ​ทำ​ให้​ใหญ่​ยิ่ง​และ​ประ​ทาน​กำ​ลัง​แก่​คน​ทั้ง​ปวง

2. ถวายเพื่อเป็นการนมัสการพระเจ้า

1 พงศาวดาร 29:14 “แต่ข้าพระองค์เป็นใคร? และชนชาติของข้าพระองค์เป็นใคร ที่ข้าพระองค์ทั้งหลายจะสามารถถวายแด่พระองค์ด้วยความเต็มใจเช่นนี้? เพราะว่าสิ่งของทุกอย่างมาจากพระองค์ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ถวายของที่มาจากพระองค์แด่พระองค์

3. ถวายด้วยความเต็มใจเหมือนกระทำต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า

โคโลสี 3:23 ไม่ว่าพวกท่านจะทำสิ่งใด ก็จงทำด้วยความเต็มใจเหมือนทำถวายองค์พระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่เหมือนทำต่อมนุษย์2

โครินธ์ 9:7 แต่ละคนจงให้ตามที่เขาคิดหมายไว้ในใจ ไม่ใช่ให้ด้วยความเสียดาย ไม่ใช่ให้ด้วยความจำใจ เพราะว่าพระเจ้าทรงรักคนที่ให้ด้วยใจยินดี

4. ถวายเพื่อเป็นพรต่อคริสตจักร

กิจการของอัครทูต 2:44-45  44คนทั้งหมดที่เชื่อถือก็อยู่รวมกัน และนำทุกสิ่งมารวมเป็นของกลาง 45และพวกเขาขายที่ดินและทรัพย์สิ่งของมาแบ่งให้แก่กันตามความจำเป็น

สมัยคริสตจักรเพิ่งเริ่มต้น พี่น้องช่วยกันถวายเพื่อให้คริสตจักรดำเนินไปได้ตามความจำเป็น ปัจจุบันคริสตจักรมีค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำสิ่งต่างๆ ที่เสริมสร้างจิตวิญญาณผู้เชื่อ เราจึงถวายทรัพย์ด้วยความรับผิดชอบเหมือนสมาชิกครอบครัวที่ช่วยเหลือการเงินในครอบครัวใหญ่ เพื่อให้คริสตจักรสามารถดำเนินไปได้อย่างถวายเกียรติพระเจ้า

5. ถวายเผื่อพี่น้องที่ขัดสน

กิจการของอัครทูต 11:29 พวกสาวกทุกคนจึงตกลงใจว่าจะเรี่ยไรกันตามกำลัง ฝากไปช่วยบรรเทาทุกข์พวกพี่น้องที่อยู่ในแคว้นยูเดีย

ปัจจุบันเงินถวายในกลุ่มสร้างชีวิต (LG) เรานำไปเป็นกองทุนเพื่อช่วยเหลือพี่น้องที่มีความขัดสนจริงๆ และคริสตจักรมอบเงินให้ด้วยความรักแก่พี่น้องในบางสภาวะของชีวิต

รูปแบบการถวายในคริสตจักร

1. การถวายสิบลด

หมายถึงการถวาย 10% จากรายได้ ในพระคัมภีร์ใช้คำว่าทศางค์

เฉลยธรรมบัญญัติ 12:6 และท่านทั้งหลายจงนำเครื่องบูชาเผาทั้งตัวและเครื่องสัตวบูชาของท่านไปที่นั่น ทั้งทศางค์และเครื่องถวาย ทั้งเครื่องบูชาแก้บน เครื่องบูชาตามความสมัครใจ และผลรุ่นแรกที่ได้จากฝูงโคและฝูงแพะแกะ

อย่างไรก็ตามพระคัมภีร์เน้นเรื่องการถวายชีวิตมากว่า

โรม 12:1 ดังนั้น พี่น้องทั้งหลาย โดยเห็นแก่ความเมตตากรุณาของพระเจ้า ข้าพเจ้าจึงวิงวอนท่านทั้งหลายให้ถวายตัวของท่านแด่พระองค์ เพื่อเป็นเครื่องบูชาอันบริสุทธิ์ที่มีชีวิต และเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า ซึ่งเป็นการนมัสการโดยวิญญาณจิตของท่าน

หลักการสิบลดจึงเป็นการถวายจากความตั้งใจของเราด้วยความเต็มใจ แท้จริงการถวายสิบลดอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะสามารถมอบถวายได้มากขึ้นตามความมุ่งหมายในใจได้

2 โครินธ์ 9:7  แต่ละคนจงให้ตามที่เขาคิดหมายไว้ในใจ ไม่ใช่ให้ด้วยความเสียดาย ไม่ใช่ให้ด้วยความจำใจ เพราะว่าพระเจ้าทรงรักคนที่ให้ด้วยใจยินดี

2. การถวายเผื่อพี่น้องที่มีความขัดสน

1 ยอห์น 3:17-18  17แต่ถ้าใครมีทรัพย์สมบัติในโลกนี้ และเห็นพี่น้องของตนขัดสนแล้วยังไม่เปิดใจช่วยเขา ความรักของพระเจ้าจะดำรงอยู่ในคนนั้นได้อย่างไร? 18ลูกทั้งหลายเอ๋ย อย่าให้เรารักกันด้วยคำพูดและด้วยปากเท่านั้น แต่จงรักกันด้วยการกระทำและด้วยความจริง

3. ถวายเผื่องานรับใช้

ฟีลิปปี 4:15  และพวกท่านชาวฟีลิปปีก็รู้แล้วว่า เมื่อข้าพเจ้าออกจากแคว้นมาซิโดเนียในช่วงเริ่มแรกของการประกาศข่าวประเสริฐนั้น ไม่มีคริสตจักรใดมีส่วนร่วมกับข้าพเจ้าในรายรับรายจ่ายนอกจากท่านพวกเดียว

อ.เปาโลขอบคุณพี่น้องคริสตจักรฟีลิปปีที่มีส่วนถวายเผื่อในการทำพันธกิจ โดยช่วยเหลือเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางและอื่นๆ

ปัจจุบันคริสตจักรมีงานพันธกิจหลายอย่างเพื่อสอดคล้องกับยุคสมัย เช่น การเช่าพื้นที่ในสถานนมัสการ การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของสถานนมัสการ การทำกิจกรรมเพื่อการประกาศ การสนับสนุนพี่น้องในการทำพันธกิจ เป็นต้น ให้เรามีส่วนถวายเผื่องานรับใช้เหล่านี้เช่นกัน

ให้เราร่วมกันถวายทรัพย์ พระเจ้าจะทรงให้เรามีอย่างเพียงพอเสมอทั้งกับตัวเราและเพื่อการดีทุกอย่างด้วย

2โครินธ์ 9:8 และพระเจ้าสามารถประทานพรทุกอย่างแก่ท่านทั้งหลายอย่างเหลือล้น เพื่อว่าเมื่อมีทุกอย่างเพียงพออยู่เสมอ ท่านยังจะมีเหลือล้นสำหรับการดีทุกอย่างด้วย

 

การถวายเป็นน้ำพระทัยของพระเจ้า
ที่พระองค์ปรารถนาให้เราสำแดงออกถึงความรักในพระองค์

 

 

ผู้เขียน: อจ. ดร.กนก ลีฬหเกรียงไกร

บทที่ 10 : การเป็นพยาน

บทเรียนซีรีส์พื้นฐานชีวิตคริสเตียน บทที่ 10 : พระคัมภีร์ หนังสือแห่งชีวิต

การเป็นพยาน

พระเยซูทรงเป็นพยานแก่หญิงสะมาเรียขณะที่ทรงนั่งรอสาวกที่บ่อน้ำ พระองค์เริ่มบทสนทนาจากเรื่องที่หญิงสะมาเรียกำลังทำคือการตักน้ำ

ยอห์น 4:7 มีหญิงชาวสะมาเรียคนหนึ่งมาตักน้ำ พระเยซูตรัสกับนางว่า “ขอน้ำให้เราดื่มบ้าง”

พระเยซูทรงโยงเรื่องน้ำไปสู่น้ำดำรงชีวิตคือความรอดที่มาจากชีวิตที่วางใจในพระองค์

ยอห์น 4:10 พระเยซูตรัสตอบนางว่า “ถ้าเธอรู้จักของที่พระเจ้าประทาน และรู้จักผู้ที่พูดกับเธอว่า ‘ขอน้ำให้เราดื่มบ้าง’ ก็คงจะขอจากท่านผู้นั้น และผู้นั้นก็คงจะให้น้ำดำรงชีวิตแก่เธอ”

ยอห์น 4:13-15  13พระเยซูตรัสตอบว่า “ทุกคนที่ดื่มน้ำนี้จะกระหายอีก 14แต่คนที่ดื่มน้ำที่เราจะให้กับเขานั้น จะไม่มีวันกระหายอีกเลย น้ำที่เราจะให้เขานั้นจะกลายเป็นบ่อน้ำพุในตัวเขาพลุ่งขึ้นถึงชีวิตนิรันดร์” 15นางทูลพระองค์ว่า “ท่านเจ้าคะ ขอน้ำนั้นให้ดิฉันเถิด เพื่อดิฉันจะได้ไม่กระหายอีก และจะได้ไม่ต้องมาตักที่นี่”

เราจึงเลียนแบบพระเยซูและมีความกล้าหาญที่จะยอมรับพระคริสต์ต่อหน้าคนทั้งปวง ประกาศเรื่องราวของพระเจ้าออกไป เป็นพยานด้วยชีวิตและประสบการณ์ของเราว่าชีวิตในทางพระเจ้ามีคุณค่าจริงๆ

มัทธิว 10:32-33  32“เพราะฉะนั้นทุกคนที่จะรับเราต่อหน้ามนุษย์ เราจะรับผู้นั้นเฉพาะพระพักตร์พระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์ 33แต่ผู้ใดจะไม่ยอมรับเราต่อหน้ามนุษย์ เราก็จะไม่ยอมรับผู้นั้นเฉพาะพระพักตร์พระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์ด้วย

ความหมายของการเป็นพยาน

การเป็นพยานคือการพูดเรื่องพระเจ้าแก่ผู้ที่ยังไม่เคยรู้จักพระองค์
คริสเตียนเป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นพระเจ้า ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อเราบนไม้กางเขน
เพื่อไถ่บาปเราและทรงฟื้นจากความตายในวันที่สาม
หากเชื่อและวางใจในพระเยซู พระองค์จะประทานชีวิตนิรันดร์ให้

1 โครินธ์ 15:3  3เพราะว่าข้าพเจ้าได้มอบเรื่องสำคัญที่สุดที่ได้รับมานั้นแก่พวกท่านคือพระคริสต์วายพระชนม์เพราะบาปของเรา ตามที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์ 4และทรงถูกฝังไว้ แล้ววันที่สามพระองค์ทรงถูกทำให้เป็นขึ้นมา ตามที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์

การเป็นพยานประกอบไปด้วย 2 อย่างคือ

1. การเป็นพยานชีวิตที่รู้จักพระเจ้าและยืนยันด้วยประสบการณ์ว่าพระเยซูเป็นพระเจ้า

2. การเป็นพยานพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

การเป็นพยานชีวิต

การเป็นพยานชีวิตหมายถึง การเล่าถึงประสบการณ์ของเราเองที่มีต่อพระเจ้าตั้งแต่ก่อนรู้จักพระเจ้า จนมาเป็นคริสเตียนได้อย่างไร ปกติจะประกอบด้วย 3 ขั้นตอน

1. ชีวิตก่อนเป็นคริสเตียน

ภูมิหลังทั่วไปของเรา ด้านครอบครัว สภาพแวดล้อม การศึกษา ความเชื่อ ความคิด อุปนิสัย อาจจะเล่าเฉพาะภูมิหลังที่ส่งผลให้เรากลับใจมาเป็นคริสเตียนก็พอ เช่น ชอบแสวงหาความหมายของชีวิตและพบแล้วในพระเจ้า หรืออาจเป็นภูมิหลังของเราที่มีปัญหาชีวิตที่สามารถพูดได้ ความเจ็บป่วย ฯลฯ แล้วมาพบคำตอบในพระเจ้า เป็นต้น

2. เหตุการณ์ตอนกลับใจมาเป็นคริสเตียน

เราได้ยินเรื่องพระเยซูคริสต์ได้อย่างไรและเหตุใดจึงตัดสินใจรับเชื่อในพระเยซูคริสต์

3. ชีวิตหลังเป็นคริสเตียน

เราพบคำตอบในพระเจ้าอย่างไร อาจจะเล่าประสบการณ์ที่ชัดเจน เช่น ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นในเรื่องต่างๆ อย่างไร ทั้งหมดเพราะได้มีโอกาสรู้จักพระเจ้าและพระเจ้าเป็นผู้เปลี่ยนแปลงเรา

การเป็นพยานพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ เป็นการพูดถึงความดีงามของพระเยซูทรงกระทำเพื่อไถ่บาปเรา การเป็นพยานพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ เป็นหัวใจสำคัญของการเป็นพยาน การเป็นพยานในส่วนที่ 2 นี้จะขาดไม่ได้ พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ที่มาตายไถ่บาปเรา ซึ่งมีขั้นตอน 6 ประการต่อไปนี้คือ

1. พระเจ้าคือใคร

กล่าวถึงพระลักษณะของพระเจ้า เช่น ทรงเป็นพระผู้สร้างสูงสุด (รม.1:20) ทรงบริสุทธิ์ และยุติธรรม (1 ปต.2:22) ทรงเต็มไปด้วยความรัก (1 ยน.4:8)

2. มนุษย์

โดยกล่าวโยงจากลักษณะของพระเจ้าที่เป็นผู้สร้างสูงสุดว่าได้เป็นผู้สร้างมนุษย์ขึ้น และสร้างอย่างมีเสรีภาพในการตัดสินใจ มนุษย์ทุกคนจึงมีสิทธิ์ในการตัดสินใจที่จะเลือกทำดีก็ได้หรือทำชั่วก็ได้ เพราะพระเจ้าสร้างมนุษย์มาให้มีเสรีภาพ และมนุษย์ทุกคนได้ตัดสินใจเลือกทำบาปโดยตัวของเขาเอง

โรม 3:23  เพราะว่าทุกคนทำบาป และเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า

3. เล่าถึงบาปและผลของบาป

โรม 6:23  เพราะว่าค่าจ้างของบาปคือความตาย แต่ของประทานจากพระเจ้าคือชีวิตนิรันดร์ในพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา

มนุษย์จึงอยู่ในสภาพที่หมดหวัง และไม่สามารถช่วยตัวเองได้

4. ความหวังที่มาทางพระเยซู

โรม 5:6-8  6ขณะ​เมื่อ​เรา​ยัง​ขาด​กำลัง ​พระ​คริสต์​ก็​ได้​ทรง​สิ้น​พระ​ชนม์​เพื่อ​ช่วย​คน​บาป​ใน​เวลา​ที่​เหมาะสม​ 7ไม่​ใคร่​จะ​มี​ใคร​ตาย​เพื่อ​คน​ตรง แต่​บาง​ที​จะ​มี​คน​อาจ​ตาย​เพื่อ​คน​ดี​ก็​ได้​ 8แต่​พระ​เจ้า​ทรง​สำแดง​ความ​รัก​ของ​พระ​องค์​แก่​เรา​ทั้ง​หลาย คือ​ขณะที่​เรา​ยัง​เป็น​คน​บาป​อยู่​นั้น ​พระ​คริสต์​ได้​ทรง​สิ้น​พระ​ชนม์​เพื่อ​เรา​

5. พระเยซูทรงรับบาปโทษแทนเราหมดแล้วที่กางเขน

1 โครินธ์ 15:3-4  3เพราะว่าข้าพเจ้าได้มอบเรื่องสำคัญที่สุดที่ได้รับมานั้นแก่พวกท่านคือพระคริสต์วายพระชนม์เพราะบาปของเรา ตามที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์ 4และทรงถูกฝังไว้ แล้ววันที่สามพระองค์ทรงถูกทำให้เป็นขึ้นมา ตามที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์

6. เชิญชวนให้เชื่อวางใจในพระเยซู

โรม 10:9-10  9คือว่าถ้าท่านจะยอมรับด้วยปากของท่านว่าพระเยซูทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า และเชื่อในใจว่า พระเจ้าได้ทรงให้พระองค์เป็นขึ้นมาจากความตาย ท่านจะรอด 10เพราะว่าการเชื่อด้วยใจก็นำไปสู่ความชอบธรรม และการยอมรับด้วยปากก็นำไปสู่ความรอด

การเชื่อวางใจในพระคริสต์เท่านั้นที่จะช่วยให้เรารอดจากบาปได้ คำอธิษฐานต่อไปนี้เป็นเพียงแต่วิธีง่ายๆ ในการแสดงออกต่อพระเจ้าว่าเราเชื่อในพระองค์ อย่าลืมว่าท่าทีที่เชื่อวางใจในพระเจ้าเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่า ให้เราเชิญชวนให้ผู้ที่พร้อมและตระหนักอย่างแท้จริงว่าต้องการพระเยซูให้ค่อยๆ อธิษฐานตามเราทีละโยค

“ข้าแต่พระเจ้า ขอพระเจ้าอวยพรและคุ้มครองข้าพเจ้า ข้าพเจ้ารู้แล้วว่าข้าพเจ้าเป็นคนบาป ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเจ้า ทรงรับบาปผิดแทนข้าพเจ้าบนไม้กางเขน ขอพระเยซูทรงเสด็จเข้ามาในใจของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอเชื่อและไว้วางใจในพระองค์ ข้าพเจ้าอธิษฐานด้วยความจริงใจ ในพระนามพระเยซูคริสต์ อาเมน”

 

การเป็นพยานคือการพูดเรื่องพระเจ้าแก่ผู้ที่ยังไม่เคยรู้จักพระองค์
คริสเตียนเป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นพระเจ้า ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อเราบนไม้กางเขน
เพื่อไถ่บาปเราและทรงฟื้นจากความตายในวันที่สาม
หากเชื่อและวางใจในพระเยซู พระองค์จะประทานชีวิตนิรันดร์ให้

 

 

ผู้เขียน: อจ. ดร.กนก ลีฬหเกรียงไกร

Skip to content